กลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำและประเภทอำนาจของผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการประชุมขององค์การ กรณีศึกษา องค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

Main Article Content

พิมพ์ศิริ ตั้งคุณศิริ
วาสิตา บุญสาธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประชุม 2. ศึกษาประเภทอำนาจของผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประชุม กรณีศึกษา องค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากการประชุมของคณะกรรมการชุดพิเศษ จำนวน 4 ชุด รวมทั้งสิ้น 8 การประชุม โดยที่มีเกณฑ์การเลือกการประชุมที่ประสิทธิภาพจากแนวคิดของ Nixon และ Littlepage (1992) คือ 1) การมุ่งผลงานที่สัมฤทธิ์ให้เป็นไปตามวาระการประชุม 2) วิธีการเตรียมการประชุมให้เป็นระบบ 3) ความตรงเวลาในการประชุม และขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง จำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการชุดพิเศษ ที่มีประสิทธิภาพทั้ง 4 ชุด ที่ศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากการรวบรวมเทปบันทึกการประชุม ทั้งสิ้น 8 การประชุม เพื่อนำมาถอดคำสนทนาจากเทปให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำข้อมูลทั้งหมดมาตีความในลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา


ผลการศึกษาพบว่า 1. กลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประชุมขององค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง คือ 1) การสรุปประเด็น 2) การสื่อสารที่ใช้ภาษากันเอง กระชับ และชัดเจน


3) การมอบหมายงานที่ต้องรับผิดชอบ 4) การกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม 5) การตั้งคำถามที่ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง และ 2.ประเภทอำนาจของผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประชุม คือ 1) อำนาจของผู้นำในการบริหารเวลาการประชุม 2) อำนาจของผู้นำในการอนุญาตให้มีการตัดสินใจหรือลงมติ 3) อำนาจของผู้นำในการสั่งการและมอบหมายงาน 4) อำนาจของผู้นำในการสร้างบรรยากาศในที่ประชุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่ (Organization Leadership). กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.
โชติรส ดำรงศานติ. (2554). การให้สิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินและกลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่มีผลต่อความรักและพลังงานขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชาภพ พันธุ์เพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Leadership and change management). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมิต สัชฌุกร. (2547). การบริหารการประชุม. กรุงเทพฯ: บริษัท วิศิษฎ์สรอรรถ จำกัด.
สุธีลักษณ์ (นิติธรรม) แก่นทอง. (2555). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
Carlozzi, C. L. (1999). Make your meeting count. Jounal of Accountancy, 187, 53-55.
Gostick, A. และ Elton, C. (2009). The Carrot Principle:How to Best Manager Use Recognition to Engage Their People, Rretain Talent, and Accelerate Performance. New York: Free Press.
Nixon,C. T., & Littlepage, G. E. (1992). Impact of Meeting Procedures on Meeting Effectiveness. Journal of Business and Psychology. 1992: 361-369.
Tracy, B. (2560). ประชุมยังไงให้ได้ผลคุ้มค่า. แปลจาก Meetings that get results โดย นวพันธ์ ปิยะวรรณกร. กรุงเทพฯ: ทัช พับลิเคชั่น.
Tubbs, S.L. และ Moss. (2008). Human Communication: Principles and Contexts. New York: McGraw-Hill Education.