ผลกระทบจากการเปิดบ่อนคาสิโนอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยในทัศนคติของ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการปราบปราม

Main Article Content

ชย พานะกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเปิดบ่อนคาสิโนอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยในทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการปราบปรามจำนวนทั้งสิ้น 132 นาย ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร (ระดับชั้นยศ ร้อยตำรวจตรี-ร้อยตำรวจเอก) สังกัดกองบังคับการปราบปรามต่อผลกระทบของการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจฯ ที่มีต่อการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายตลอดจนศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ของการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายจากทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ในลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล


จากผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผลกระทบจากการเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายขึ้นในประเทศไทยในทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการปราบปรามนั้นตามข้อแรกของวัตถุประสงค์การวิจัยนั้นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯ มีความเห็นในประเด็นที่ได้รับผลกระทบ และเกี่ยวข้องทั้งสิ้น 3 ประเด็นด้วยกันคือ 1) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรม 2) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และ3) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของข้าราชการและผู้มีอิทธิพล จากผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 และ 3 พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรทางด้านปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ อายุ การนับถือศาสนา สถานภาพการสมรส รายได้ ของกลุ่มประชากร รวมทั้งไม่มีความสัมพันธ์กันตามตัวแปรทางด้านประวัติการทำงาน ได้แก่ ระดับชั้นยศ อายุราชการ ระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีการพนัน (ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ในกองบังคับการปราบปราม) และระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีการพนัน (ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในกองบังคับการปราบปราม) กับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร (ระดับชั้นยศ ร้อยตำรวจตรี-ร้อยตำรวจเอก) สังกัดกองบังคับการปราบปราม อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างของปัจจัยทางด้านการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยทางภูมิหลังเพียงปัจจัยเดียวเดียวเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะมีพื้นฐานทางด้านความรู้ความเข้าใจในประเด็นของทฤษฎีต่าง ๆ ตลอดจนความรู้ในเชิงลึกอันเกี่ยวข้องกับการเปิดบ่อนการพนัน หรือบ่อนคาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร กำแหงฤทธิรงค์. (2543). ปัญหาชายแดนที่มีผลกระทบทำให้สังคมไทยเสื่อมทรามลง : ศึกษาเฉพาะสภาพเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยาตามแนวชายแดนพม่า ลาว และกัมพูชา. เอกสารวิจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา วปอ. รุ่นที่ 42 ประจำปี 2542-2543.
การพนัน. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/การพนัน
ประเสริฐ เมฆมณี. (2552). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์.
ปิยวรรณ กองแก้ว. (2542). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับบ่อนการพนันในประเทศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์, นวลน้อย ตรีรัตน์ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2543). อุตสาหกรรมการพนักงาน: ไทย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: ตรัสวิน.
พระมหาวีระชัย ชยวีโร. (2546). การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาจริยศาสตร์: กรณีการเปิดบ่อนการพนันถูกกฎหมายในประเทศไทย ปี 2547. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภาณี ชนาธิปกรณ์. (2547). บ่อนการพนัน : นโยบายกับความชอบธรรม. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 41(2), 33-37.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สังศิต พิริยะรังสรรค์และคณะ. (2546). เศรษฐกิจการพนันทางเลือกเชิงนโยบาย. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2559). สถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม ทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://ftp.police.go.th/ststistic/dn_main.htm
Clarke, R., & Cornish, D. (1985). Modeling Offenders' Decision: A Framework for Research and Policy. CrimeAnd Justice, 6, 147.
Cornish, D. B., & Clarke, R. V. G. (1986). The reasoning criminal: Rational choice perspectives on offending. New York: Springer-Verlag.
Cullen, F. T., & Agnew, R. (2003). Criminological theory: Past to present. Los Angeles, CA: Roxberry Publishing Company.
McDonald R. J. (1984). The Underground Economy and BLS Statistical Data. Monthly Labor Review. January(1), 4-18.
Pratt, T. C., & Cullen, F. T. (2000). The empirical status of Gottfredson and Hirschi’s general theory of crime: A meta-analysis. Criminology, 38, 931-964.
Romero et al. (2003). The Self-Control Construct in the General Theory of Crime: An Investigation in Terms of Personality Psychology. Psychology, Crime & Law. 9(1), 61-86.
Siegel, D. J. (1999). The developing mind: Toward a neurobiology of interpersonal experience. New York: Guilford Press.
Siegel, D.J. (2000). Perception and cognition. In B. Kaplan & W. Sadock (Eds.), Comprehensive Textbook of Psychiatry, Seventh Edition. New York: Williams and Wilkins.
Siegel, D.J. (2006). An interpersonal neurobiology approach to psychotherapy: How awareness, mirror neurons and neural plasticity contribute to the development of well-being. Psychiatric Annals, 36(4), 248-258.