ปัจจัยสนับสนุนการเลือกเรียนวิชาเอกของนักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม (ภาคพิเศษ)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลของนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม (ภาคพิเศษ) และเพื่อศึกษาปัจจัยสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนวิชาเอกของนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม (ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 จำนวนทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม พบว่าความคิดเห็นต่อการรับรู้ข้อมูลของนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม (ภาคพิเศษ)โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทั้งด้านพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูล และด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก และพบว่าเฉพาะปัจจัยรวมส่วนการรับรู้ข้อมูลของนักศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนปริญญาเอกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.5
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
Behavior. Texas : Business Publications, Inc.
Jones, A. E. (1981). “An Analysis of the Administrative Tasks Defined in the POSDCORB Model and Performance in the Operationalizing of the Community Education Concept in Selected Elementary School Districts of Cook County, Illinois,” Dissertation Abstracts International, 41 (10) : 4235-A.
Roger, E. (1971). Communication of Innovations: A cross cultural Approach. New York: The Free Press.
ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุพรรษา สุวรรณชาตรี. (2548). การรับรู้ข้อมูลผ่านสื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตรศึกษา), มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.