ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Main Article Content

รพีภรณ์ แตงสาขา

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การและระดับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 371 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม


                ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์การและระดับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การจำแนกตามเพศ ระดับชั้นยศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่การศึกษาเปรียบเทียบจากหน่วยต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีความแตกต่างกัน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้อง ด้านความสอดคล้องต้องกัน ด้านความสามารถในการปรับตัว และด้านการมุ่งเน้นที่พันธกิจกับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


                ข้อเสนอแนะการวิจัย พบว่า ในเชิงนโยบายควรมีการปรับโครงสร้างของระบบการทำงาน โดยเฉพาะลำดับชั้นยศและเพศให้ลดช่องว่างให้มากที่สุด  และควรหาแนวทางในการบูรณาการทั้งหน่วยงานภายในและมีการบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกหรือภาคเอกชนให้มากขึ้น ส่วนเชิงปฏิบัตินั้นผู้วิจัยมองว่าองค์การควรจัดอบรมระหว่างข้าราชการตำรวจจากหน่วยต่าง ๆ และประสานงานร่วมกันให้มากขึ้น เพื่อทำให้การปฏิบัติภารกิจเป็นไปอย่างสะดวก และอยู่ภายใต้กรอบเดียวกันมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธงชัย สันติวงษ์.(2533). การบริหารงานบุคคล.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.
นฤมล ชุนถนอม. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิภาพ องค์การ ศึกษากรณีสำนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอสามพราน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิสดารก์ เวชยานนท์.(2542).การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ.วารสารการ
จัดการภาครัฐและภาคเอกชน,8(1),13-29.
ผลิน ภู่จรูญ. (2547). การจัดการธุรกิจร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไท.
โวหาร ยะสารวรรณ (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย.(2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. สาชาวิชารัฐประสาสนศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมจินตนา คุ้มชัย. (2553). ศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผลขององค์การรัฐวิสาหกิจทางการเงินในประเทศไทย. รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2540).วัฒนธรรมองค์การ : แนวคิด งานวิจัย และประสบการณ์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
อภิรัชต์ สุดทองคง. (2556). อิทธิพลของปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติที่มีผลต่อประสิทธิผลการ ดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบาย
สาธารณะและการจัดการภาครัฐ,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Denison. D. R. (1990). Corporate culture and organization effectiveness. New York : John Wiley& Son.
Hoy, Wayne. K and Cecil G. Miskel. (1991). Educational Adninistration : Theory Research and Practice. 4th ed. New York : Harper Collins.