พฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9

Main Article Content

นที ศิริจรรยาพงษ์
นงนุช โรจนเลิส
อุรปรีย์ เกิดในมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย การควบคุมตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน และการได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2)เปรียบเทียบพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย และลักษณะการพักอาศัย 3) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 5 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 305 คน โดยผู้วิจัยกำหนดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สำหรับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ใช้วิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนประชากรจำแนกตามโรงเรียนและเพศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์พหุถดถอยตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ


            ผลการวิจัย 1)ผลการวิเคราะห์ระดับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านการควบคุมตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ปกครอง และการได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน อยู่ในระดับมาก 2)ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน จำแนกตาม เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย และลักษณะการพักอาศัย พบว่า นักเรียน ที่มีเพศต่างกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย และลักษณะการพักอาศัย ต่างกัน มีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3)ผลการวิเคราะห์ตัวแปร ที่สามารถทำนายพฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน พบว่า การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และการควบคุมตนเอง สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 70.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ อาจหาญ. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์.” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการวิจัยการศึกษา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกรกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมชุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2546.
จารุวรรณ ภัทรจารินกุล.“ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความมุ่งมั่น ของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศีกษาจังหวัดกาฬสินธุ์.” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,2555.
เติมศักดิ์ คทวนิช. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2550.
ธรีญา ชัยธงรัตน์. “ศึกษาผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน ที่มีอิทธิพลต่อ ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาขอนแก่น เขต 3”วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการวิจัย การศึกษาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , 2551.
นพเนตร ธรรมบวร. การจัดกระบวนการคิดในวัยลุ่ย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
เบญจลักษณ์ ตาลชัย. “ได้ศึกษาอิทธิพลของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการ เรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดขอนแก่น.” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการวิจัย การศึกษาสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร. พัฒนาการเด็กและการอบรมเลี้ยงดู. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2536.
พระอำนาจ อัตถกาโม. “การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
บางกรวยอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหาร จัดการคณะสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2555.
วิมล แพงโคตร.“ศึกษาลักษณะครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3”วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการวิจัยการศึกษาสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 2550.
ศิริวิมล ชูชีพวัฒนา. “พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑล ราชบุรี จังหวัดราชบุรี.” วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชา จิตวิทยา และการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
สมัคร น้อยสกุล. “การพัฒนาแนวทางส่งเสริมสนับสนุนงานวาการแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชนสถานศึกษา ขนาดเล็ก กรณีศึกษา โรงเรียนวัดลาดระโหง โรงเรียนวัดท่าใหม่ และโรงเรียนศรีภวังค์.” วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, 2551.
อาจารีย์ ช่างประดับ. “ศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนของนักเรียนของนักเรียนช่วงชั้น ที่ 3 โรงเรียนอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี”. วารสารวิชาการการศึกษา
ศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์, 2550.