การประเมินความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพร้อมการดำเนินงาน แสวงหาแนวทางการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานและรองรับกับการดำเนินการตามหลักสากล และวางแนวทางและยุทธศาสตร์การดำเนินการเตรียมการในด้านต่างๆของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ใช้การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการสำรวจความคิดเห็น(Survey Research)ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทุกระดับชั้นทั่วประเทศ โดยการสุ่มหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอบ่าง จำนวน 371 นาย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการตรวจคุณภาพเครื่องมือทั้งการหาค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นและการสนทนากลุ่ม(Focus Discussion) จากหัวหน้าด่านจำนวน 120 นายจำนวน 9 ครั้งและจากผู้ใช้บริการงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 50 คน จำนวน 2 ครั้งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและANOVA และการประมวลผลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีชั้นยศชั้นประทวน ระยะเวลาการปฏิบัติงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจนถึงปัจจุบัน ระหว่าง 0 – 5 ปี มีรายได้รวมครอบครัว (เฉลี่ยรวมต่อเดือน) 20,000– 35,000บาทและ สำหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่ปัจจุบัน ได้แก่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 รองลงมาได้แก่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ แผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รองลงมาได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ นโยบาย และ อื่นๆ เช่น วัฒนธรรมของคนต่างชาติ เป็นต้น ตามลำดับ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ว่าเป็นด้านประสิทธิผล (Effectiveness) และ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการคือ ผลลัพธ์ (Outcome) และความยั่งยืน (Sustainability) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจคนเข้าเมือง ปรับเปลี่ยนอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภารกิจงาน จัดทำโครงการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ การประสานกับทางจังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในการดูแลและพัฒนา การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ (Ad hoc Center) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรุงเทพฯ : หจก.เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
ชัจจ์ชนันต์ ธรรมจินดา (2551). รวมสุดยอดแนวคิดการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ :บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด
ชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2542). การพัฒนาองค์การ เทคนิคการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ . (2547). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ :เอ็กซเปอร์เน็ท.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการ. กรุงเทพฯ :เอ็กซเปอร์เน็ท.
บุษกร วัชรศรีโรจน์. (2548). การบริหารความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ์ (1996).
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา.(2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง : ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐในยุคปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2551). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เม็ดทราย
ยุดา รักไทย (2542). การบริหารความเปลี่ยนแปลง จากแนวคิด...สู่วิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550) . คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็น
เลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2547). องค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2) นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บดินทร์ วิจารณ์. การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร, บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, 2547.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่
8). กรงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Boam, R. and Sparrow, P., Designing and Achieving Competency.
McGraw-Hill,Reading, 1992.
Boyatzis, R.E., Competence at work. In a Stewart (Ed.), Motivation and
Society.San Francisso:Jossey-Bass, 1982.
Boyatzis, R.E., The Competence manager: A model for effective
Performance. New York: Wiley, 1982.
McClelland, D.C., A Competency model for human resource
management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber, 1975.
Nonaka, I. The Knowledge Creating Company. Harvard Business
Review,November- December, (1991): 21.
Prahalad, C.K. and Hamel, G., The core competences of the
corporation. Harvard Business Review. May- June: 1990.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M., Competence at work: Model for
Superior performance. Wiley,New York, 1993.