บทบาทของชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วต่อการจัดการพื้นที่เพื่อกิจกรรมสาธารณะ โดยภาคประชาสังคมในพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว (ป่าช้าวัดดอน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท รูปแบบการดำเนินงาน และสภาพปัญหา อุปสรรคและวิธีการแก้ไขต่อการจัดการพื้นที่เพื่อกิจกรรมสาธารณะโดยภาคประชาสังคมในพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว (ป่าช้าวัดดอน) โดยคณะผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีคุณลักษณะเป็นผู้บริหาร สมาชิกชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว และประชาชนที่ใช้บริการลานสุขภาพ ซึ่งคัดเลือกด้วยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ที่อนุญาตให้เปิดเผยชื่อและไม่เปิดเผยชื่อ จากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาพื้นที่แห่งนี้มีประเด็นปรากฏการณ์ที่สามารถผลักดันทำให้พื้นที่มี การเปลี่ยนแปลงโดย (1)ชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วได้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ อย่างจริงจัง โดยเกิดจากแกนนำหรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วในการริเริ่มดำเนินการพัฒนาจาก ทุนทรัพย์ ความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้เป็นตัวอย่างให้ชุมชนและสังคมเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ (2)เกิดการจัดการพื้นที่แบบมีส่วนร่วมโดยการรวมตัวของการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของภาคีเครือข่ายและการจัดการพื้นที่แบบมีส่วนร่วมโดยภาคประชาสังคม (3)เกิดการจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะในพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว (ป่าช้าวัดดอน) โดยภาคประชาสังคมภายใต้การเข้ามามีบทบาทของชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว โดยการดำเนินงานมิได้ริเริ่มจากภาครัฐและมิได้ถูกบริหารจัดการโดยภาคเอกชน ปัจจุบันพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว (ป่าช้าวัดดอน) เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจมากขึ้นจากการที่ชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วได้เข้าไปมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงปรับภูมิทัศน์ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ของชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วในอนาคต จึงมีข้อเสนอแนะให้ทางชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว วางแผนสืบทอดตำแหน่งงานการบริหารจัดการอย่างชัดเจน กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกับสมาชิกของชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว เนื่องจากชมรมนักวิ่งแต้จิ๋วไม่ได้ตั้งคุณลักษณะของบุคคลในการเข้ามาดำรงตำแหน่ง อาจส่งผลต่อการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว (ป่าช้าวัดดอน) ถูกบริหารจัดการโดยภาคประชาสังคม ชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วจึงต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทั้งหมดรวมไปถึง ด้านงบประมาณดังนั้น สำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานครและสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย ควรเข้ามามีบทบาทส่วนร่วมให้มากขึ้น รวมไปถึงการจัดการพื้นที่เพื่อกิจกรรมสาธารณะควรมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ควรจัดตารางกิจกรรมอย่างชัดเจน เพื่อรักษาและสร้างปฏิสัมพันธ์ในภาคประชาคมให้เกิดความเข้มแข็ง โดยต้องมีประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ภาคประชาสังคมอื่นๆที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจัดการพื้นที่รวมไปถึงเป็นกรณีศึกษาในการจัดการพื้นที่สุสานอื่นๆต่อไป
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชูชัย ศุภวงศ์ และ ยุวดี คาการณ์ไกล. บรรณาธิการ. (2540). ประชาสังคม ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ธนา ประมุขกุล. (2544). เครือข่าย. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม,24 (3)
สถาบันไทยพัฒน์. (2555). ซีเอสอาร์คืออะไร.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560. จาก
:http://thaicsr.Blogspot.com/2012/ 01/ blog-post_30.html.
นนทพร อยู่มั่งมี.(2557).การจัดการพื้นที่เมืองในกรุงเทพมหานคร: กรณีป่าช้าและพิธีศพสมัยรัชกาล
ที่ 5. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2541). ทางเลือกทางรอด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เออาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับบิเคชั่น.
ปาณัสม์ชฎา ศุภจักรวัฒนา.(2554). องค์การไม่แสวงหากำไร:องค์ความรู้ทางรัฐประศาสตร์ที่ถูกลืมในไทย FEUACADEMIC REVIEW.4(2) : 51 – 58 ; ธันวาคม 2553 – พฤษภาคม 2554.
มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2551). ปัจจัยใจการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการท่องเที่ยวที่มีต่อการเลือกสถานที่ ท่องเที่ยว: กรณีศึกษาเกาะมุก จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. “การศึกษาภาวะผู้นำ และทิศทางใหม่เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการ SMES THE STUDY OF LEADERSHIP AND NEW DIRECTION FOR DEVELOPING SMES ENTREPRENEURS.”[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2560. จาก : http : //www.tci-thaijo.org /index. php/NDJ / article/view/2918.
สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์. (2556). รายงานผลการวิจัย เรื่องสภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหาจังหวัดปทุมธานี.คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.