ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความสุขในการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข ในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสุขกับความสุขในการทำงาน และอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความสุขที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 110 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stage Sampling) และใช้การสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความสุขในการทำงาน ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการการถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=4.12,S.D. = 0.45) 2) ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.75, S.D. = 0.59) 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (r=0.604,Sig.=0.01) และ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 35.9 และมีอิทธิพลทางบวกต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในภาพรวม (b=.634, p= 0.000)
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
โปรแกรม HLM 4.01. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลจาก http://www.watpon.com. สืบค้นเมื่อ : 7 ตุลาคม 2558.
ชินกร น้อยคำยาง และปภาดา น้อยคํายาง. (2555).ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. มหาวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
ถามครูดอทคอม. (2555). พฤติกรรมความสุข (Happiness Behavior). เข้าถึงข้อมูลจาก : http://taamkru.com/th . สืบค้นเมื่อ : 15 พฤศจิกายน 2559.
นฤมล แสวงผล.(2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :สามเจริญพานิช.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2559). Silpakorn University. เข้าถึงข้อมูลจาก : www.su.ac.th . สืบค้นเมื่อ
: 9 พฤศจิกายน 2559.
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทํางานอย่างมีความสุข กรณีศึกษา นักศึกษาภาคพิเศษ ระดับ
ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนษยุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์และประสพชัยพสุนนท์. (2557).การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและ
ความสุขในการทำงานที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของบุคลากร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2557): 90 – 105.
ศิรินันท์ กิติสุขสถิตและคณะ. ( 2555 ).คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเองHAPPINOMETER. สถาบันวิจัย
และประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (1943 ). องค์กรแห่งความสุข.เข้าถึงข้อมูลจาก http://www.thaihealth.or.th . สืบค้นเมื่อ : 15 พฤศจิกายน 2559.
Abraham Maslow. (1943). A Theory of Human Motivation . เข้าถึงข้อมูลจาก : www.baanjomyut.com . สืบค้นเมื่อ : 9 พฤศจิกายน 2559.
Herzberg, Frederrick and other.(1959).The Motivation to work.เข้าถึงข้อมูลจาก :
https://www.gotoknow.org/posts/208291. สืบค้นข้อมูลจาก สืบค้นเมื่อ : 7 ตุลาคม 2558.