การประเมินผลการบริการที่เป็นเลิศในการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัชชา จีนสักโต
อรณี บุษบงษ์
อัจฉรา จงประสานเกียรติ
นริศรา วายะลุน
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาบริบทและสภาพการดำเนินงานในการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษีของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อประเมินผลการบริการที่เป็นเลิศในการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษีของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี  3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรีในการให้บริการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานดำเนินการวิจัยในมิติของงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลด้วยวิธีการแบบสามเส้า ในมิติของงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการศึกษา สุดท้ายเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรีในการให้บริการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษี ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญอีกครั้งหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลและผลที่ได้จากแบบสอบถาม


                  ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทและสภาพการดำเนินงานในการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษี ของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี มีการดำเนินงานให้บริการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และแก้ไขปัญหาการจราจรภายในหน่วยงาน เมื่อทำการวิเคราะห์สามารถสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทั้งหมด 17 คุณลักษณะ 2. ผลการประเมินผลการบริการที่เป็นเลิศในการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษีของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี พบว่า ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (=4.00, S.D.= 0.61) พบว่า การให้บริการด้านความพึงพอใจต่อผลของการให้บริการอยู่ในระดับมาก (=4.08, S.D.= 0.70) รองลงมา คือ การให้บริการในด้านความพึงพอใจต่อกระบวนการขั้นตอนการให้บริการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.02, S.D.= 0.60) ลำดับต่อมา คือด้านความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่บุคลากรที่ให้บริการอยู่ในระดับมาก (=3.96, S.D.= 0.71) และด้านความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก (=3.94, S.D.= 0.70) และ 3. แนวทางการพัฒนาของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรีในการให้บริการต่อทะเบียนรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษี พบว่า ควรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในสายอาชีพ ควรมีการจัดฝึกอบรมและพัฒนาความรู้แก่เจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น ควรมีเพิ่มช่องทางการให้บริการให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และควรปรับปรุงเส้นทางการให้บริการต่อทะเบียนรถให้เป็นเส้นทางเฉพาะ เพื่อให้พร้อมต่อการบริการประชาชนเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540). การปฏิรูปภาคราชการ สู่ภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไรใครรับผิดชอบ. วารสารข้าราชการ, 42(2), 24-43.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2550). การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์กรภาครัฐ (Management Tool Implementation in Public Organizations). วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 14(1), 35-70.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: พับลิชชิ่ง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี. โครงสร้างของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560, จาก http://chonburi.dlt.go.th/main.html
หยดเทียนป้องทัพไทย. (2553). E-Service. สืบค้นเมื่อ28 ตุลาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/387824
Fraenkel R. Jack and Wallen E. Norman. (1993). How to Design and Evaluate in
Education. 2nd ed. USA: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Millet J. D. (1954). Management in Public Science. New York: McGraw – Hill.
princezii. (2556). การจัดการอิเล็คทรอนิค บทที่ 9 E-Government. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2559, จาก http://princeziiaek.blogspot.com/2013/02/9-e-government.html
Pollitt & Bouckaert. (2004). Public management reform: a comparative analysis. Oxford: Oxford University Press.