ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาไทยและต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) เปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,309 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และความถี่ (Frequency)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาไทยและต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายข้อพบว่า นักศึกษาไทย มีความต้องการและความคาดหวังในระดับมากที่สุด ได้แก่ มีสวัสดิการรักษาพยาบาล มีทุนสนับสนุนการศึกษา และมีประเภททุนตรงตามความต้องการของนักศึกษา ส่วนนักศึกษาต่างชาติมีความต้องการและความคาดหวัง มากที่สุด เรื่อง ระบบการดูแลการต่ออายุวีซ่าในระหว่างที่ศึกษา ด้านการให้บริการ และ ด้านการพัฒนานักศึกษา พบว่า นักศึกษาไทยมีความต้องการและความคาดหวัง ในระดับมากที่สุด แตกต่างจากนักศึกษาต่างชาติที่มี ความต้องการและความคาดหวังในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ด้านการเรียนการสอน นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกัน มีความต้องการและความคาดหวังด้านการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน ด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกันมีความต้องการและความคาดหวังด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษาไม่แตกต่างกัน ด้านการให้บริการ นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกันมีความต้องการและความคาดหวังด้านการให้บริการไม่แตกต่างกัน และ ด้านการพัฒนานักศึกษา นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกันมีความต้องการและความคาดหวังด้านการพัฒนานักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
เสาวภาคย์ วัฒนวิเชียร. (2549). การวิเคราะห์อุปสงค์ของการศึกษาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีใน ประเทศ. กรุงเทพมหานคร: คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กชกร เบ้าสุวรรณ, ธนภัทร ปัจฉิม และสุจิตรา ฉายปัญญา. (2550). ความคาดหวังและความพึง พอใจต่อการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุโขทัย. คณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
กฤษฎิ์ กาญจนกิตติ. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาชาวต่างชาติที่มีต่อการบริการทางการศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิตรี ภู่ตระกูล. (2550). ความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานการวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จิตรี ภู่ตระกูล. (2550). ความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงใจ เขมวิรัตน์. (2548). ความคาดหวังของนักศึกษาต่อการจัดการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร
ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธาน
ธีระพงศ์ สันติภพ (2558). นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในประเทศไทย พ.ศ. 2554–255. ประชากรและสังคม 2558: ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 =Population and Social Diversity in Thailand 2015 / อารี จำปากลาย, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, บรรณาธิการ.-- พิมพ์ครั้งที่ 1. -- นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประดิษฐ์ มีสุข และทรงธรรม ธีระกุล. (2551). วิกฤตคุณภาพบัณฑิตศึกษากับบทบาทมหาวิทยาลัย. หนังสืองานทักษิณวิชาการ’51 “มหาวิทยาลัยทักษิณกับทางแก้วิกฤตของชาติ” (ในโครงการทักษิณวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา) ระหว่างวันที่ 16 – 19 สิงหาคม 2551
พวงผกา วรรธนะปกรณ์ และโสภณ ผลประพฤติ. (2553). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญในวิชาสัมมนาวิชาชีพด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย. รายงานการวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พัชรี ภูบุญอิ่ม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา เกี่ยวกับการบริการของส านัก ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยใน 5 สาขาวิชาจาก QS World University Rankings by Subject 2016. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news59/QS-by-subject2016.html
รัชตา ธรรมเจริญ. (2557). ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการของ นักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่. Abstract Book การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 5 (The 5th National and International Hatyai Conference) สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ
วลัย วัฒนะศิริ. (2555). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่ประเทศไทยในระดับอุดมศึกษานานาชาติของนักศึกษาประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. กรุงเทพมหานคร: สุทธิปริทัศน์.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางครัตน์ เนื่องไชยยศ (2549) ความคาดหวังของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2549. มหาสารคาม : กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อัญจณา วัจนะสวัสดิ์. (2544). ความพึงพอใจของผ้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของกองบัตรผู้โดยสารเครื่องบินสาขาสํานักงานใหญ่ บริษัทการบินไทย จํากัด(มหาชน). ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
อาณัติ ปาลพันธุ์ และ คณะ. (2558). ปัจจัยจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล ประจำปีการศึกษา 2558. รายงานการวิจัยสถาบัน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 6 (3), 69-85.
ภาษาอังกฤษ
Barlett, L. (2011). South–south migration and education: The case of people of Haitian descent born in the Dominican Republic, A Journal of Comparative and International Education, 42(3): 393–414.
Chonko,L.B., Tanner, J. F. and Davis, R. (2002).What are they thinking? Students? expectations and self assessment ? Journal of Education for Business. 77 (5): 271-281
https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news59/QS-by-subject2016.html
Maslow, A. 1970. Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.