การคลังสาธารณะกับสวัสดิการสังคม: ประเด็นปัญหาและข้อพิจารณาบางประการต่อการปฏิรูป การคลังภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมพื้นฐานที่ยั่งยืนของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐต้องจัดสวัสดิการให้กับประชาชน การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้น “คน”เป็นศูนย์กลาง ประชากรมีอายุยาวนานมากขึ้น และนโยบายประชานิยม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายจ่ายสาธารณะของภาครัฐเพิ่มขึ้น แต่รัฐไทยยังมีข้อจำกัดในการด้านการหารายได้ จึงทำให้การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมพื้นฐานของไทยมีข้อจำกัดด้วย นอกจากนั้นการจัดสวัสดิการสังคมของไทยยังประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น ด้านการศึกษามีปัญหา “การลงทุนการศึกษาที่สูง แต่ได้คุณภาพต่ำ” ด้านสาธารณสุขคนไทยยังได้รับการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกันเพราะมีระบบการรักษาพยาบาลต่างกันถึงสามระบบ และประเด็นโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” แต่รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการให้มีระบบการออมแห่งชาติครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม จึงทำให้รัฐมีภาระงบประมาณรายจ่ายอย่างมาก ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาสวัสดิการสังคมให้เกิดความยั่งยืนและมีคุณภาพ จึงเสนอให้รัฐควรดำเนินการ ดังนี้ (1) ปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายจาก “นโยบายประชานิยม”ที่เป็นนโยบายระยะสั้นไม่ยั่งยืนไปสู่ “นโยบายสาธารณะนิยม” เพื่อสร้างระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ยั่งยืน รวมทั้งดำเนินการให้มีระบบการออมแห่งชาติที่เหมาะสม (2) กำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการงบประมาณในขั้นตอนต่างๆ โดยใช้แนวคิดเรื่องระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของประชาชน(Participatory Budgeting) (3) ปฏิรูประบบการคลังของรัฐให้เข็มแข็ง โดยการปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีของไทยทั้งระบบทั้งในด้านการขยายฐานภาษีและกำหนดภาษีรูปแบบใหม่ เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงการปฏิรูประบบการคลังท้องถิ่นไทยให้สามารถจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้ (4) การกำหนดเป้าหมายของรายจ่ายสาธารณะที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนยากไร้ คนเร่ร่อนขอทาน เป็นต้น ผ่านระบบสวัสดิการต่างๆของรัฐ
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คำอธิบายพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546. (2547). กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2549).ทฤษฎีวิพากษ์ในนโยบายและการวางแผนสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2550).เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการเรื่อง รัฐสวัสดิการ: เครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในสังคม.ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 4. นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะทำงานการกระจายรายได้.(ม.ป.ป.) สวัสดิการพื้นฐาน (social safety net) : รากฐานความเป็นธรรมทางรายได้.กรุงเทพฯ: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2553). นโยบายการคลังสาธารณะ.กรุงเทพฯ. แปลน ปริ้นติ้ง จำกัด.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2553). การคลังเพื่อสังคม.(พิมพ์ครั้งที่5) .กรุเทพฯ: พี. เอ.ลีพวิ่ง จำกัด.
ติรัส ตฤณเตชะ. (2555). นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก : ความท้าทายภายใต้ความผันผวนในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2555. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัส สุวรรณมาลา.(2553). ประชาธิปไตยทางการคลัง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ บรรณาธิการ.(2547). สวัสดิการสังคมฉบับชาวบ้าน: แนวคิด นโยบาย แนวทางปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.
ถวิล นิลไป.(2552). การปฏิรูประบบภาษี: ทางรอดของประเทศไทย.คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บัวพันธ์ พรมพักพิง.(2556). แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนา: จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ป๋วย อึ้งภากรณ์.(2530). ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคมทอง.
ปัณณ์ อนันอภิบุตร.(2555). การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสังคมเสมอหน้า. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง.
พฤกษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์. (2536). “พัฒนาการแนวคิดที่ว่าด้วยสวัสดิการสังคม”. ในยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่องานสวัสดิการสังคม. รายงานการประชุมทางวิชาการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ประจำปี 2535
อรวรรณ คูหเจริญ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พลภัทร บุราคัม.(มปท). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะในประเทศไทย. สมุทรปราการ.ดี.เค. ปริ้นติ้งเวิลด์ จำกัด.
พลภัทร บุราคัม.(2556). พิมพ์ครั้งที่ 4. รายจ่ายสาธารณะ: ประสิทธิภาพในการจัดสรรและประสบการณ์ระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ: ดี.เค.ปริ้นติ้งเวิลด์ จำกัด.
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และคณะ.(2553). โครงการวิจัยทางเลือกของสวัสดิการสังคมสำหรับคนไทย กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).
วันทนีย์ วาสิกะสิน.(2536). “สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์”. วารสารสมาคมเศรษฐศาสตร์. 3(11) เมษายน-มิถุนายน. 60-61.
วันทนีย์ วาสิกะสิน, สุรางรัตน์ วศินารมณ์, กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2553). พิมพ์ครั้งที่7. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ระพีพรรณ คำหอม. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 4. สวัสดิการสังคมกับสวัสดิการไทย.กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.(2554). โครงการวิจัยเรื่องสู่สวัสดิการสังคมถ้วนหน้าภายในปี พ.ศ.2560.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (มปท). โครงการวิจัยเรื่องนโยบายและมาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอื้อมพร พิชัยสนิธ.(2553). เศรษฐกิจทางเลือกว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
เอื้อมพร พิชัยสนิธ.(2557). การคลังประยุกต์กับเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงไป. กรุงเทพฯ:โครงการตำรา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Adema, W., P. Fron and M. Ladaique (2011), “Is the European Welfare State Really More Expensive?: Indicators on Social Spending, 1980-2012; and a Manual to the OECD Social Expenditure Database (SOCX)”, OECD Social, Emplployment and Migration Working Papers, No. 124, OECD Publishing.
Anderson, Esping. (1990). Three worlds of welfare capitalism. Princeton: Princeton University Press.
OECD.StatExtracts.OECD Social Expenditure Database
(http://stats.oecd.org/Index.aspx?DataSetCode=SOCX_AGG) เข้าถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557
Ponlapat Buracom (2007) “Explaining the Growth of Public Spending in Thailand Demand-side VS Supply - side and Empowerment”. NIDA Journal of Development Administration.
Wilensky,Harold L.(1975). The Welfare State and Equality: Structural and Ideological Roots of Public Expenditures. Berkley: University of California Press.