ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม ในแผนพัฒนา 3 ปี ของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เอกรินทร์ เขียวคำรพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม”  การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์    การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายา (2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายา และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายา กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 366 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านผู้นำชุมชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกด้าน รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านค่านิยมส่วนบุคคล ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านการได้รับประโยชน์ โดยมีด้านแรงกดดันทางสังคมมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าทุกด้านตามลำดับ

  2. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  3. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง พบว่าด้านผู้นำชุมชนมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมในแผนพัฒนา 3 ปีของเทศบาลตำบลศาลายาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กระทรวงมหาดไทย. (2548). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). การมีส่วนร่วมแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการ. ค้นเมื่อ ธันวาคม 20, 2553 จาก http://www.moac.go.th.
เทศบาลตำบลศาลายา. (2556). แผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ.2556-2558). เอกสารถ่ายสำเนา.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2542). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี สิโรรส. (2552). ร่วมด้วยช่วยกันในการบริหารแบบมีส่วนร่วม, รัฐศาสตร์สาร ฉบับรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์สาร 30 ปี, 30(5) : 15-16.
วรรณา พลเดช. (2550). องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมกิจกรรมของประชาคมในชุมชนอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วุฒิสาร ตันไชย. (2546). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารท้องถิ่น : เทศบาลตำบลเมืองแกลง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). ผลการดำเนินงานด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. ค้นเมื่อ ธันวาคม 20, 2553 จาก http://www.opdc.go.th/
อำภรณ์ ช่างเกวียน. (2540). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาป่าชายเลนชุมชน ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง .วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิทธิกร นุชนิยม. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ.2554-2556) ของเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
อุดม ทุมโฆสิต. (2551). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook : Making Better Decisions Through Citizen Involvement. Jossey-Bass Publishing, San Francisco.
McCosky, H. (1968). “Pulitical Participation”, in Yhe Intermational Encyclopedia of the Social Science. Vol. 12 p.252. New York : McMillan and Free Press.
Reeder, W. (1974). Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm Families in New York State. Cornell University.
Roger, C. R. (1969). Freedom to leam. Columbus : Charles E. Merrill Publishing Co.