ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

Main Article Content

พรรณิดา ขุนทรง

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารองค์การของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)  2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เคยรับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 399 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขาคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยการบริหารองค์การของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านโครงสร้าง ตามลำดับ ระดับคุณภาพการให้บริการ พบว่าระดับคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเชื่อมั่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ การเข้าถึงความรู้สึกของผู้รับบริการ และความเป็นรูปธรรมของการบริการ ตามลำดับ  ปัจจัยการบริหารองค์การส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐาน  โดยตัวแปรปัจจัยการบริหารองค์การทั้ง 4 ตัว มีผลร่วมกันสามารถพยากรณ์คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ได้ร้อยละ 60.7 และปัจจัยการบริหารองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ด้านที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารี ศรีพารัตน์. (2550). ความพึงพอใจต่อการบริการของผู้ใช้บริการ แผนกผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลบ้านแพ้ว. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการบริการสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย คริสเตียน.
ธนภณ พรมยม. (2552). ความพึงพอใจของญาติผู้ป่วยที่มีต่อคุณภาพการบริการทางกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลอ่างทอง. การค้นคว้าอิสระบธ.ม. (บริหารธุรกิจ)พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นารีรัตน์ รูปงาม. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัลและวัฒนธรรมคุณภาพบริการกับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการรับรองและพัฒนาคุณภาพบริการ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบา บุศยพลากร. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงพยาบาลชุมชน : ศึกษากรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เบญจพร พุฒคำ. (2547) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคุณภาพบริการแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลจันทรุเบกษา. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการคุ้มครองผู้บริโกคด้านสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยวิทยาลัยศิลปากร.
มยุรัตน์ สุทธิวิเศษศักดิ์. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุรภาพเทคนิคบริการด้านการรักษาพยาบาลของสถานีอนามัย ใน เขต 8. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลับมหิดล.
ศิริรัตน์ ประกอบพานิช. (2549). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการเชิงกลยุทธ์).ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิง กลยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภัทรา มิ่งปรีชา. (2550). ศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Babakus, E. et. al. (1991, September). Issue of practice cosmetic surgery. Consumer’s use of information and perceptions of service quality. Journal of Healthcare Marketing. 45, 12-18. Harold J. Leavitt and Louis R. Pondy. (1964). Managerial Psychology. Chicago : The University of Chicago.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., and Berry, L.L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing. 49(4), 41-50.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., and Berry, L.L. (1988). "SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Customer Perceptions of Service Quality," Journal of Retailing, Spring, pp. 12-40.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., and Berry, L.L. (1990). Delivery quality service : Balancing customers perceptions and expectations. London: Free Press.
Scardina, S. A. (1991, January). SERVQUAL: A tool for evaluating patient satisfaction with nursing care. Journal of Nursing Care Quality. 8, 38-46.
See S. Tilles. The manager’s Job- A System Approach. Harvard Business Review. January- February 1963, 73-71.
Yamane , Taro. (1970). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. ToKyo : John Weatherhill, Inc.