สถานภาพการให้บริการและแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ การให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ฐิติพร ธรรมโหร

บทคัดย่อ

กรุงเทพมหานครโดยสำนักงานเขต 50 เขต มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ งานวิจัยครั้งนี้เพื่อมุ่งศึกษาสถานภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ กระบวนการทำงานและการปฏิบัติงาน บุคลากรและการพัฒนาบุคลากร ทักษะของบุคลากรในการให้บริการ ผู้รับผิดชอบ และพฤติกรรมและแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดค่านิยมร่วมขององค์การ ในการให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยศึกษาสถานภาพการให้บริการผู้สูงอายุอยู่ในระดับใด มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการให้บริการผู้สูงอายุ และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร ตามกรอบแนวคิดของ 7-S Framework ประกอบด้วย โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบ ทักษะ บุคลากร รูปแบบการบริหาร ค่านิยมร่วม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สถานภาพการให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาก การให้ความสำคัญและการสนับสนุนทำให้องค์การสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบปัญหาอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงบุคลากรในหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการประสานงานและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
วีรชัย ตันติวีระวิทยา.(2537). ดั้นด้นหาความเป็นเลิศ ประสบการณ์จากบริษัทอเมริกันชั้นนำของโลก. กรุงเทพมหานคร: เอช. เอ็น. กรู๊ป.
Good, C. V. (1973). Dictaionary of education. New York: Mc Graw-Hill.
Millet, J.D. (1954). Management in the public service. New York: Mc Graw-Hill.
Ryan, T.A. & Smith, P.C. (1954). Principle of industrial psychology. New York: The Ronald Press Company.
Thomas J. Peter & Robert H. Waterman. Jr. In search of Excellence. แปลเรียบเรียงโดย วีรชัย ตันติวีระวิทยา (2537). ดั้นด้นหาความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.