ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 ห้อง 2/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มีการประเมินความสามารถในการควบคุมตนเอง
จากครูผู้สอน จำนวน 5 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 6 แผน 2) แบบประเมินความสามารถในการควบคุมตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย 3) แบบบันทึกพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้ค่าทดสอบทางสถิติ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed Rank Test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญมีค่าอยู่ที่ 1.00 และ
2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย หลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 โดยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นั้นเริ่มรู้จักอารมณ์ของตนเองมากขึ้น รู้จักการรอคอย มีสมาธิ
จดจ่อกับกิจกรรม สามารถบอกความต้องการของตนเอง ตัดสินใจ วางแผน
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาระหว่างทำกิจกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Bandura, A (1997). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Butrat, P & Butkatanyu, O (2021). Results of organizing art activities using natural media that children take the initiative towards controlling emotions in early childhood. An Online Journal of Education, 17(1), 1-19. (in Thai)
Chinnapong, P. (2020). “Self Control” Important skills that do not forget to teach children. Action research: https://mgronline.com/ qol/detail/9630000083745. (in Thai)
Department of Mental Health. (2017). Primary mental health organization for the public to have good mental health, happy. Nonthaburi: Office of Mental Health Strategy Department of Mental Health Ministry of Public Health. (in Thai)
Gardner, H. E. (1980). Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Book.
Hanmatee, S., Pitaksinsuk, T., & Arrmarith, P. (2018). Brain Skills Development Guide: EF Executive Function For early childhood teachers. Bangkok: Matichon Pub Co., Ltd. (in Thai)
Juthapukdeekul, N. (2018). Know brain skills: EF Executive Function Skills Brain Skills Development Guide: EF Executive Function For early childhood teachers. Bangkok: Matichon Pub Co., Ltd.
Kithirach, S. (2009). Creative Art Activities of Preschool Teachers In The Schools Under Udonthani Educational Service Area Office 2. [Master Thesis, M.Ed, Early Childhood Education]. (in Thai)
Kueakul, K. (2016). Art activity results and economic premiums to increase the concentration of students with autism. [Master Thesis, Curriculum and Instruction in Special Education]. (in Thai).
Lowenfeld, V. (1990). Creative and Mental Growth. New York: Macmillan.
Napee, S. (2020). Organizing learning experiences using a set of creative art activities to promote creativity for 3 years kindergarten students. Journal of Educational Technology and Communications Mahasarakham University, 3(8), 96-106.
Niyomthum, S. (2007). Visual arts for special education. Bangkok: Rumthaiprass Co., Ltd.
Office of Science Promotion Research and Aunt. (2020). Action research: Development and basic early childhood emotion for quality growth. https://reaearchcafe.org/development-and-temperament of-early -childhood/. (in Thai)
Phakabongkrod, Ch. (2011). Creativity for the Land: Creative Sustainable Problem Solving. Bangkok: Amornkranpim Co. (in Thai)
Suwanwng, N. (2019). Art activity: Art activities for early childhood children. Journal of Educational Studies Bansomdejchaopraya Rajabhat University, 1(1), 1-19. (in Thai)