วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu
<p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ<br />โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic article) และเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN 2697-391X (Online) ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม >> <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSOC-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/">ที่นี่</a></strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong><br />ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564-2567 ให้อยู่ในกลุ่มที่<strong> 1 </strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>มีค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ 3,000 บาท/บทความ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป)<strong><br /></strong><br /><em>(ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อทำการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป)</em></p>
สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
th-TH
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2228-8244
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
ปัญหาทางกฎหมายในกรณีของการจ่ายสินจ้างและการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266057
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในกรณี<br />ของการจ่ายสินจ้างและการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในขณะที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าจ้างแทน<br />การบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งกฎหมายกำหนดต่างกัน จากหลักนิติวิธีเมื่อมีกฎหมายเฉพาะคือกฎหมายคุ้มครองแรงงานจะต้องนำมาปรับใช้ก่อนกฎหมายทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า<br />ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่งผลให้นายจ้างสามารถกำหนดสินจ้างเป็นสิ่งของแทนเงินได้ โดยไม่มีฐานะกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย อีกทั้งลูกจ้างไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม ไม่อาจร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ต่างจากค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อเสนอแนะควรปรับใช้กฎหมายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน<br />ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ</p>
ตรีเนตร สาระพงษ์
กันย์กัญญา ใจการวงค์สกุล
ณัฐ สุขเวชชวรกิจ
วศิน สุวรรณรัตน์
เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย
กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว
ศศิร์อร อินโต
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
341
367
-
กลวิธีทางวรรณศิลป์ในการนำเสนอประสบการณ์บาดแผลฝังใจในวรรณกรรมเรื่อง A Little Life
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266489
<p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ในการนำเสนอประสบการณ์ บาดแผลฝังใจของตัวละครหลักในวรรณกรรมเรื่อง A Little Life ของฮันยา <br />ยานากิฮาระ โดยใช้แนวคิดบาดแผลฝังใจของจูดิธ เฮอร์แมน เบสเซล แวน เดอ คอล์ค และแอน สเวตโควิตช์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บาดแผลฝังใจของตัวละครหลักเกิดจากการทารุณกรรมทางร่างกาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศและการเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็ก เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นบาดแผลฝังใจที่หวนคืนในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีตัวกระตุ้น และความเจ็บปวดที่ได้รับทางร่างกาย<br />ยังไม่สามารถแยกขาดจากภาวะทางจิตใจ ซึ่งส่งผลให้ประสบการณ์รุนแรงกลายเป็นบาดแผลฝังใจของตัวละคร 2) วรรณกรรมเรื่องดังกล่าวมีบทบาทในการนำเสนอบาดแผลฝังใจผ่านกลวิธีทางวรรณศิลป์ ได้แก่ การเล่าเรื่องแบบมุมมอง<br />พระเจ้า การเล่าบาดแผลฝังใจแบบไม่เรียงลำดับเวลา การสร้างตัวละคร<br />เพื่อนำเสนอการเยียวยาบาดแผลฝังใจ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจประสบการณ์<br />ของผู้มีบาดแผลฝังใจ ราวกับเป็นประสบการณ์ของตน</p>
ขอบคุณ สมบูรณ์วงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
1
33
-
อิทธิพลของภาษาแม่: การวิเคราะห์ข้อผิดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/265006
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเขียนสะกดคำและประโยคของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายเชื้อสายกะเหรี่ยงโปและมอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาเฉพาะกลุ่มเกี่ยวกับ<br />การเขียนสะกดคำและประโยคในภาษาไทยของนักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการเขียนสะกดคำและการเขียนประโยคของนักเรียน จำนวน 120 คน จำแนกเป็นนักเรียนเชื้อสายกะเหรี่ยงโป 70 คน และนักเรียนเชื้อสายมอญ จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อผิด (error analysis) โดยเปรียบเทียบภาษาไทยที่นักเรียนเขียนในแบบทดสอบกับภาษาไทยมาตรฐาน (Standard Thai)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีปัญหาการเขียนสะกดคำมี 4 ประการ คือ 1) ปัญหาด้านการเขียนพยัญชนะต้น เช่น ความสับสนเรื่องอักษรสูง-อักษรต่ำคู่พยัญชนะต้น ร-ล 2) ปัญหาด้านการเขียนพยัญชนะท้าย เช่น <br />ความสับสนเรื่องการละตัวสะกด การซ้ำเสียงตัวสะกด และการเพิ่มตัวสะกด <br />3) ปัญหาด้านการเขียนสระ เช่น ความสับสนเรื่องสระเต็มรูป-สระเปลี่ยนรูป <br />สระเสียงสั้น-สระเสียงยาว และการเขียนรูปสระ และ 4) ปัญหาด้านการเขียนวรรณยุกต์ เช่น ความสับสนเรื่องการเขียนรูปวรรณยุกต์ ทั้งในลักษณะไม่ใส่<br />รูปวรรณยุกต์และเพิ่มรูปวรรณยุกต์ ส่วนปัญหาการเขียนประโยคที่พบส่วนใหญ่<br />เกิดจากนักเรียนขาดความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างประโยค ชนิดของคำและความหมายของคำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ สภาพแวดล้อม<br />ทางภาษา และความซับซ้อนของอักขรวิธีไทย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าปัญหาด้านการเขียนสะกดคำ และการเขียนประโยคของนักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์นั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน</p>
ราตรี แจ่มนิยม
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
34
73
-
คำอ้างถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ใช้ในคำประพันธ์ประกอบ การแสดงชุดเทิดพระเกียรติ การประกวดดนตรีพื้นบ้าน วงโปงลาง กรมพลศึกษา พ.ศ. 2566
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266604
<p>การแสดงชุดเทิดพระเกียรติ ในการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง <br />ชิงถ้วยพระราชทานฯ ซึ่งจัดโดยกรมพลศึกษาเป็นชุดการแสดงจากวงโปงลางสถาบันต่าง ๆ ที่รังสรรค์ชุดการแสดงเพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี โดยปรากฏการใช้คำเพื่ออ้างถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ <br />พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งผสานเข้ากับดนตรี การฟ้อนรำและการแสดงออกทางวัฒนธรรมอีสาน </p> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ โครงสร้าง และลักษณะ<br />การใช้คำอ้างถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี<br />พันปีหลวง ที่ใช้ในคำประพันธ์ประกอบการแสดงชุดเทิดพระเกียรติ การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง และเพื่อศึกษาความคิด ความเชื่อ และค่านิยมที่สะท้อนผ่านคำอ้างถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีของ Halliday & Hasan ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบ โครงสร้าง และลักษณะ<br />คำอ้างถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ปรากฏลักษณะโครงสร้างของคำอ้างถึงจำนวน 4 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) ลักษณะการอ้างถึงแบบโครงสร้างเดี่ยว 2) ลักษณะการอ้างถึงแบบโครงสร้าง 2 ส่วน 3) ลักษณะการอ้างถึงแบบโครงสร้าง 3 ส่วน <br />และ 4) ลักษณะการอ้างถึงแบบโครงสร้าง 4 ส่วน ขึ้นไป คำอ้างถึงที่พบในงานวิจัยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อ และค่านิยมต่าง ๆ ได้แก่ 1) ทรงเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน 2) ทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง และ 3) ทรงเป็นผู้นำความเป็นสิริมงคล<br />สู่บ้านเมือง</p>
กฤตนันท์ ในจิต
วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
74
107
-
การส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพสำหรับครอบครัวคนพิการ ทางสติปัญญาที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด-19
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262033
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ<br />จากโควิด-19 ที่มีต่อครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา ตลอดจนศึกษาศักยภาพ<br />และแนวทางการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพแก่ครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา โดยผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 22 คน เป็นผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดนครพนม บึงกาฬ และมุกดาหาร รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ครอบครัวคนพิการ<br />ทางสติปัญญามีรายได้ลดลง ซึ่งสวนทางกับรายจ่ายที่สูงขึ้น เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้านศักยภาพรวมทั้งแนวทางการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพแก่ครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา มีข้อค้นพบ 5 ประเด็น คือ <br />1) การมีศักยภาพและต้นทุนเดิมในการประกอบอาชีพ เช่น ความสามารถที่มีอยู่เดิม และที่ดิน 2) มีความพร้อมและมีความต้องการในการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ได้แก่ กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม การประกอบอาหาร และการทำความสะอาด 3) การไม่สามารถเข้าถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ทางองค์กรต่าง ๆ จัดให้เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทาง 4) ช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ คือ การเรียนรู้ออนไลน์ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่าง ๆ และการเรียนรู้กับผู้สอนโดยตรง และ 5) การไม่สามารถเข้าถึงทุน<br />ในการประกอบอาชีพ จากข้อค้นพบนี้คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงาน<br />ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรพิจารณาส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพตามศักยภาพและต้นทุนเดิมที่ครอบครัวคนพิการฯ มี ผ่านช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย <br />และควรมีการพิจารณาจัดสรรทุนในการประกอบอาชีพอย่างทั่วถึง</p>
คณิน เชื้อดวงผุย
เบญจยามาศ พิลายนต์
ไพรินทร์ ยอดสุบัน
วรัญนิตย์ จอมกลาง
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
108
138
-
มาตรการกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อปกป้อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสินค้าอาหารในประชาคมอาเซียน: บทเรียนสำหรับประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263492
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อการปกป้องสินค้าอาหารไทยและเสนอแนะ<br />แนวทางการแก้ไขกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้อง<br />ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยสามารถใช้มาตรการทางกฎหมายแบบยืดหยุ่น เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด รวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์การใช้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินเดีย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมธรรมเนียมการใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์และธรรมเนียมการผลิตสินค้าอาหารไทยต่อไป</p>
ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
ชูชีวรรณ ตมิศานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
139
166
-
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำมาตรการ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการไปปฏิบัติ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/261762
<p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการไปปฏิบัติของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการ จำนวน 356 คน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น แบบชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าความสำเร็จของการนำมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการไปปฏิบัติ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อยู่ในระดับสูง และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ คือ ลักษณะและโครงสร้างหน่วยงานที่ปฏิบัติ ทัศนคติของผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ทรัพยากรนโยบาย และการสื่อสารระหว่างองค์กร ซึ่งสามารถอธิบายการผันแปรของความสำเร็จได้ร้อยละ 78.8</p>
ศันสนีย์ โต๊ะทอง
ลักษณา ศิริวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
167
193
-
การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266404
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ <br />1) วิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวและอัตลักษณ์ของชุมชน 2) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่อการใช้บริการและประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ<br />ภายใต้แนวคิดการออกแบบประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ<br />ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ<br />ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม กับปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวในตำบลนางแลและภาคีเครือข่าย จำนวน 20 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม<br />กับนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูล<br />เชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ตำบลนางแลมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่หลากหลาย การเดินทางเข้าถึงสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พักหลายรูปแบบ 2) นักท่องเที่ยวมีความต้องการบริการผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามในระดับมาก โดยผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ปัจจัยด้านราคาส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเลือกประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วยการลงมือทำและเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนนางแล การรับประทานอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี <br />การผ่อนคลายจิตใจและร่างกายไปกับกิจกรรมการบำบัดรักษาสุขภาพ และเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกที่มาจากชุมชน โดยโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วยโปรแกรมสุขสบาย (ครึ่งวัน) และโปรแกรมสุขชีวา (เต็มวัน) ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในระดับดี ทั้งนี้ชุมชนควรปรับปรุงการให้บริการต้อนรับและการให้ข้อมูลของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานของฝ่ายต่าง ๆ ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว</p>
ขวัญฤทัย ครองยุติ
วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
194
224
-
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแหล่งท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/265701
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ทัศนคติต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 463 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br />การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยปัจจัยทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 91 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากที่สุด คือปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยว รองลงมาคือ ทัศนคติที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ตามลำดับ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดท่องเที่ยวในแต่ละด้านให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับ<br />การสร้างประสบการณ์ที่ดีเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีเจตคติที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019</p>
ปิยะภรณ์ ไพทยาภรณ์
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
225
259
-
ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266194
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์<br />ในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล <br />ปีที่ 2 ห้อง 2/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มีการประเมินความสามารถในการควบคุมตนเอง<br />จากครูผู้สอน จำนวน 5 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 6 แผน 2) แบบประเมินความสามารถในการควบคุมตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย 3) แบบบันทึกพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้ค่าทดสอบทางสถิติ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed Rank Test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์<br />ในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญมีค่าอยู่ที่ 1.00 และ <br />2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กปฐมวัย หลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 โดยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นั้นเริ่มรู้จักอารมณ์ของตนเองมากขึ้น รู้จักการรอคอย มีสมาธิ<br />จดจ่อกับกิจกรรม สามารถบอกความต้องการของตนเอง ตัดสินใจ วางแผน<br />การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญหาระหว่างทำกิจกรรม</p>
กัญญาวีร์ กัณหา
อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย
สมพร หวานเสร็จ
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
260
280
-
มุมมองของนักเรียนและประสบการณ์ของครูที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263143
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของนักเรียน<br />และประสบการณ์ของครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในจังหวัดนครนายก <br />วิธีดำเนินวิจัยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ครูที่มีประสบการณ์สอนเพศศึกษาจำนวน 11 คน เลือกแบบเจาะจง<br />เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง หาค่า IOC = 1.00 <br />และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 281 คน เลือกมาโดยสุ่มแบบกลุ่มเพื่อสำรวจมุมมองของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้เพศศึกษา ด้วยแบบสอบถาม หาค่า IOC = .89 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ได้เรียนเพศศึกษาในหัวข้อเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ (ร้อยละ 98.75) การคุมกำเนิดและการใช้ถุงยาง (ร้อยละ 96.36) พัฒนาการทางเพศ (ร้อยละ 95.91) และส่วนใหญ่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาแบบบรรยายเป็นหลัก (ร้อยละ 75.00) <br />2) ประสบการณ์ของครูต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา ครูส่วนใหญ่เน้นสอนทฤษฎี และเน้นวิธีบรรยาย เวลาในการสอนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถสอนแบบกิจกรรมได้ และเนื้อหาที่สอนเน้นเรื่องพัฒนาการทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ<br />ที่ปลอดภัย ค่านิยมในเรื่องเพศ ทักษะในการแก้ปัญหาเรืองเพศ สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ หนังสือเรียน รวมถึงการวัดและประเมินผลเน้นการสอบวัดความจำ</p>
สุนันทา ศรีศิริ
วรลักษณ์ พุทธชาติ
สุนันทา มนัสมงคล
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
281
310
-
ภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/267199
<p>การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพม.ปทุมธานี และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพม.ปทุมธานี จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน วิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา<br />ของโรงเรียนในสังกัด สพม.ปทุมธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 322 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทัศนะของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติโดยใช้ t-test และ F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยเปรียบเทียบความแตกต่าง<br />เป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัด สพม.ปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแก้ปัญหา รองลงมาคือ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการสื่อสาร 2) ภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามทัศนะของข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษา และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำแบบถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และข้าราชการครู<br />ที่มีประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะ ต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำแบบ<br />ถ่ายโอนได้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน<br />อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ณัฐพล บัวอุไร
ปทุมพร เปียถนอม
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
15 2
311
340