วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ<br />โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic article) และเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN 2697-391X (Online) ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม &gt;&gt; <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSOC-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/">ที่นี่</a></strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong><br />ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564-2567 ให้อยู่ในกลุ่มที่<strong> 1 </strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>มีค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ 3,000 บาท/บทความ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป)<strong><br /></strong><br /><em>(ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อทำการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป)</em></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> ubusocj@ubu.ac.th (Asst.Prof.Dr.Pinwadee Srisupan) ubusocj@ubu.ac.th (Miss.Patcharaporn Chantawee) Thu, 16 May 2024 15:07:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เมืองยืดหยุ่น: การยกระดับย่านเมืองเก่าผ่านการมีส่วนร่วมภายใต้กรอบมุมมองทางการท่องเที่ยว https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260379 <p>บทความนี้ ศึกษาการยกระดับย่านเมืองเก่าผ่านการมีส่วนร่วมภายใต้เมืองยืดหยุ่นสู่กรอบมุมมองการพัฒนาทางการท่องเที่ยว อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานเอกสาร งานวิจัย บทความวิชาการ บทความวิจัย และกรณีศึกษา พบงานศึกษาประเด็นดังนี้ ประเด็นแรกการจัดการอนุรักษ์เมืองเก่าแบ่งเป็น<br />ยุครื้อฟื้น เน้นประสบการณ์ในอดีตนำมาต่อยอด ยุคเปลี่ยนแปลง เริ่มมีการอนุรักษ์ควบคู่กับการประสานความร่วมมือจากหน่วยงาน ยุคยกระดับ พัฒนากิจกรรมและนำเข้าฐานเทคโนโลยี ประเด็นที่สองได้นำเสนอแนวคิด <strong>ตั้ง: ต่อ: เติม </strong>โดยการใช้ “ทุน” ของพื้นที่มาเป็นกรอบพัฒนาย่านเมืองเก่า โดยเน้นการปฏิบัติการชุมชน (Social Lab) ของทุกภาคส่วน ประเด็นที่สามกรอบคิดในการปรับรับต่อสภาวะการหันเหปรับเมืองเก่าเป็นเมืองยืดหยุ่นภายใต้สภาวะความผันผวนเพื่อเป็นการ<br />ลดความเสี่ยง การธำรงวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อบุคคลรุ่นหลังไปสู่การพัฒนา<br />ให้มีคุณภาพชีวิต (Quality of life) บนวิถีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างทางวัฒนธรรม ความใหม่และความเก่าอยู่ร่วมกันเพื่อสอดรับกับกลไกการเปลี่ยนแปลง<br />ทางการท่องเที่ยวต่อไป</p> สกาวรัตน์ บุญวรรโณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260379 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ ในหน่วยงานภาครัฐไทย: บทสำรวจเอกสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/228079 <p>ผลการศึกษาวิจัยการจัดการความรู้ที่ผ่านมาจำนวนมากบ่งชี้ว่าประสิทธิผลของการจัดการความรู้ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์การ และการจัดการความรู้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับการสร้างโอกาสให้กับการบริหารจัดการภาครัฐรวมทั้งเป็นกระบวนการสร้าง การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยน และการประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ บทความนี้<br />จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการจัดการความรู้ในหน่วยงานภาครัฐไทย โดยการสำรวจเอกสารรายงาน<br />การศึกษาวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือ และบทความวิชาการ จำนวน 19 เรื่อง <br />ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ในหน่วยงานภาครัฐไทย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะของบุคลากร ปัจจัยพันธะผูกพันของผู้นำและบุคลากร ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยการสื่อสาร</p> ลักษณา ศิริวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/228079 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 เสียงจากห้องแล็บ: ประสบการณ์ทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262480 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเชิงพื้นที่และการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ภายในห้องปฏิบัติการ รวมถึงวิเคราะห์อิทธิพลของเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีต่อประสบการณ์ของพวกเขา บทความใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ<br />ผ่านการเก็บข้อมูลเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนามแบบชาติพันธุ์วรรณาเชิงเทคโน (Techno-ethnography) สำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่คัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา โดยมีแนวคิดเครือข่าย-ผู้กระทำ หรือ Actor-network theory (ANT) เป็นวิธีวิทยาหลักในการแกะรอยและศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นมนุษย์และสิ่งอื่นที่เข้ามาทำงานเพื่อร่วมประกอบสร้างบริบทและข้อเท็จจริง<br />ทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องแล็บ ตลอดจนผลิตผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์<br />การทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บริบทเชิงพื้นที่ห้องแล็บถูกประกอบสร้างขึ้น<br />ผ่านการเชื่อมโยงกับกระบวนการทางสังคมด้านต่าง ๆ ที่มีต่อโรคโควิด-19 กิจกรรมที่เกิดในห้องแล็บสามารถสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งมีลักษณะเชิงเทคนิค (socio-technical relation) การทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดกับเชื้อโรคทำให้เห็นว่าเชื้อโรคมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นมากกว่าตัวก่อโรคระบาด เพราะสามารถส่งผลกระทบต่ออัตวิสัยของพวกเขาทั้งในแง่อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงชีวิตทางสังคมในแง่มุมต่าง ๆ บทความจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบริบทการทำงาน และเสนอแนวทางการฝึกฝนนักเทคนิคการแพทย์ให้รับมือกับเชื้อโรค โดยให้ความสำคัญต่อการบูรณาการองค์ความรู้<br />ในลักษณะข้ามศาสตร์และบทบาทของสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์มากขึ้น เพราะจะช่วยเปิดมุมมองพวกเขาให้เข้าใจบริบทการทำงานที่ยึดโยงอยู่กับบริบทเชิงสังคมวัฒนธรรม และมองเห็นชีวิตทางสังคมของเชื้อโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดและวิถีชีวิต สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อรับมือและปฏิบัติตัวอยู่ร่วมกับเชื้อโรคได้ดีขึ้นเมื่อมีสถานการณ์โรคระบาดใหม่ ๆ รวมถึงยังนำมาปรับใช้ในการพัฒนาแนวนโยบายด้านสุขภาพและการป้องกันโรคในอนาคตได้</p> ปาณิภา สุขสม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262480 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 สิทธิมนุษยชนในฐานะภาษาเชิงศีลธรรมและการเมือง ของชีวิตนักร้องตาบอด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260041 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอุดมการณ์สิทธิมนุษยชนในฐานะที่เป็นโครงการทางศีลธรรมและการเมืองยุคปัจจุบัน เมื่อถูกแปลเป็นปฏิบัติการในระดับท้องถิ่นในบริบทสังคมไทย โดยองค์กรด้านการพัฒนาคนพิการภายใต้วาระการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางสังคมการเมืองเพื่อปลดปล่อยคนพิการ งานวิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในกลุ่มนักร้องตาบอดทั้งที่เป็นนักร้องเดี่ยวและวงดนตรีตาบอด ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและชานเมืองใกล้กรุงเทพมหานคร และสัมภาษณ์แกนนำ<br />องค์กรรัฐและเอกชน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า หลักการสิทธิมนุษยชนที่ถูกเชื่อมโยงมาสู่ประเด็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์<br />ในกลุ่มคนพิการกลายเป็นภาษาเชิงศีลธรรมและการเมืองใหม่และได้สร้างกรอบชุดศีลธรรมหนึ่งเดียวในกลุ่มคนพิการตาบอด คนพิการที่ไม่สามารถปรับตัวตามเกณฑ์มาตรฐานคุณค่าที่ภาษาเชิงศีลธรรมของสิทธิมนุษยชนสร้างให้ จะถูกแบ่งแยก<br />และกีดกันทางสังคมในกลุ่มคนพิการตาบอดและถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ บทความชี้ว่าสิทธิมนุษยชนไม่ได้มีความเป็นสากลนิยม และสามารถสร้างมาตรฐานเชิงคุณค่าใช้ตัดสินความเป็นมนุษย์ที่ไม่เท่าเทียมกันในกลุ่มประชากร เราจะเข้าใจประเด็นนี้ได้ด้วยการศึกษาสิทธิมนุษยชนในบริบทที่ตัวมันเองเผยตัวในโลกชีวิตทางสังคมของผู้คนที่สิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย</p> ประชาธิป กะทา Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260041 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 การยกระดับการนับรวมทางสังคมด้วยการคุ้มครองทางสังคม ผ่านแพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล สำหรับกลุ่มเด็ก อายุ 0 ถึง 15 ปี จากครอบครัวเปราะบาง: กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าโซน 10 กรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262689 <p>แพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล เป็นเครื่องมือดิจิทัลที่นำร่องทดลองใช้ในงานการคุ้มครองทางสังคม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ<br />การทำงานและผลของการคุ้มครองทางสังคมผ่านแพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล ในการยกระดับการนับรวมทางสังคมสำหรับกลุ่มเด็กอายุ 0 ถึง 15 ปี <br />จากครอบครัวเปราะบาง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 ถึง 15 ปี จากครอบครัวเปราะบาง จำนวน 1 คน 2) คณะทำงานด้านการวางกรอบแนวคิดแพลตฟอร์มฯ จำนวน 3 คน 3) ผู้ให้บริการ 4 หน่วยงาน หน่วยงานละ <br />1 คน รวมจำนวน 4 คน และ 4) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) จำนวน 5 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า แพลตฟอร์มฯ นี้มีลักษณะการทำงานที่สำคัญ <br />3 ประการ ได้แก่ การป้องกันก่อนเกิดปัญหา, ความร่วมมือของหน่วยงาน<br />ในรูปแบบการทำงานเชิงลึก และยึดหลักธรรมาภิบาลข้อมูล และยังพบว่า แพลตฟอร์มฯ ช่วยยกระดับการนับรวมทางสังคม โดยการทำงานของหลายหน่วยงาน สร้างโอกาสให้เด็กเปราะบางเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมในระบบ<br />การสงเคราะห์และช่วยเหลือที่ไม่มีการจ่ายเงินสมทบ และแพลตฟอร์มฯ ยังช่วยส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีของเด็กเปราะบาง โดยการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและครอบครัว ที่มีความเชื่อมโยงกับหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ<br />ผู้ให้บริการที่ยึดถือปฏิบัติเป็นปกติ แต่กลไกการทำงานสำหรับป้องกันก่อนเกิดปัญหายังมิได้ปรากฏขึ้นจริง ถึงแม้ว่าเด็กจะได้รับโอกาสเข้าสู่ระบบการศึกษาและสาธารณสุข แต่มิได้เพิ่มความสามารถทางทักษะการเรียนรู้และศักยภาพ<br />การช่วยเหลือตนเอง เนื่องจากกลุ่มเด็กเปราะบางที่เข้าร่วมการทดสอบแพลตฟอร์มฯ คือ กลุ่มเด็กที่กำลังเผชิญกับภาวะคุกคามเป็นระยะเวลานานแล้ว</p> นนทิยา สัตวาที, อจิรภาส์ เพียรขุนทด Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262689 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263349 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง และศึกษาแนวทางการเคลื่อนไหว รูปแบบยุทธวิธี และเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์<br />แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ความขัดแย้ง <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุหลักของความขัดแย้งมี 5 ประการ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ด้านผลประโยชน์ ด้านความสัมพันธ์ และด้านค่านิยมที่แตกต่างกัน ซึ่งความขัดแย้งในโครงการนำไปสู่การทำลาย<br />ความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งผลให้ความขัดแย้งขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการที่คู่ขัดแย้งมีมุมมองที่แตกต่างกัน โดยมีความขัดแย้งกันทั้งในด้านเนื้อหา <br />ด้านกระบวนการและด้านความสัมพันธ์ 2)แนวทางการเคลื่อนไหว รูปแบบยุทธวิธีของกลุ่มผู้คัดค้านในนาม “กลุ่มรักษ์โตนสะตอ” พบว่ามีการใช้รูปแบบยุทธวิธีและกลยุทธ์ที่หลากหลาย ทั้งยุทธวิธีท้าทายที่ปราศจากความรุนแรง เช่น การชุมนุม การนั่งประท้วงและอารยะขัดขืน และยุทธวิธีช่องทางระบบการเมืองปกติ เช่น การล็อบบี้ การเคลื่อนไหวทางสังคมนี้ดำเนินการผ่านการระดมทรัพยากรจากผู้สนับสนุน การได้รับความสนใจจากสื่อ พันธมิตรและการพัฒนาเชิงโครงสร้างองค์กร ส่วนเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเคลื่อนไหวทางสังคม พบว่า<br />มีปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง การปลดปล่อยการตระหนักรู้และโครงสร้างโอกาสทางการเมือง จะเห็นว่าแม้กลุ่มรักษ์โตนสะตอที่มีความคับข้องใจและมีทรัพยากรไม่มากนัก แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวจนบรรลุผลสำเร็จ จากข้อค้นพบดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่าเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนต้องทำงานร่วมกันในการจัดการทรัพยากรน้ำ สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดเวทีเสวนา ปรึกษาหารือ เพื่อหาจุดร่วมในการหาแนวทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดความชัดเจนและอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง</p> นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263349 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 การต่อยอดชุมชนมุ่งสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/264082 <p>ข้อจำกัดที่ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ของชุมชน<br />ขาดความต่อเนื่อง คือการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐมีจำกัด แรงงาน<br />การผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และไม่ได้รับความสนใจจากแรงงานหนุ่มสาวในชุมชน การศึกษาครั้งนี้จึงชวนชุมชนที่มีศักยภาพ 4 กลุ่มในจังหวัดอุบลราชธานี<br />มาเข้าร่วมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) โดยมีผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนให้คำปรึกษาเพื่อทำความเข้าใจตนเอง ประเมินความเป็นไปได้ และร่วมออกแบบแผนธุรกิจตามแนวทางวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ควบคู่ไปกับการทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม อันส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมคือระบบการจัดการ การผลิต และโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สมาชิกชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมีข้อจำกัดไม่สามารถพัฒนาศักยภาพดังกล่าว<br />ด้วยตนเองได้ จึงต้องอาศัยกลไกภายในพื้นที่ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น <br />ส่วนราชการ และภาคเอกชนในพื้นที่ ตลอดจนวัยหนุ่มสาวให้การหนุนเสริม อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจเพื่อสังคมอาจเป็นคำตอบของชุมชนที่มีความพร้อม<br />ทางเศรษฐกิจเป็นทุนเดิม แต่ไม่ใช่คำตอบของชุมชนที่มุ่งรวมกลุ่มเพื่อสร้าง<br />ความสามัคคีภายในชุมชน</p> อรุณี สัณฐิติวณิชย์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/264082 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารท้องถิ่น และโครงการนวัตกรรมการสร้างแบรนด์เมืองด้วยธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลนครยะลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260526 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสำเร็จและปัจจัย<br />แห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดีของเทศบาลนครยะลา (2) เพื่อศึกษาผลสำเร็จและปัจจัยความสำเร็จในโครงการนวัตกรรมสร้างแบรนด์เมืองภายใต้<br />อัตลักษณ์เมืองยะลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาสังคม รวม 61 คน มีการใช้แบบสัมภาษณ์สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ วิเคราะห์และสรุปผลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สรุปอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จของธรรมาภิบาลของเทศบาลนครยะลาแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน การลดขั้นตอนการให้บริการประชาชน วินัยทางการคลัง ประสิทธิภาพและความพึงพอใจของประชาชน ด้านปัจจัยความสำเร็จของธรรมาภิบาล ได้แก่ การมีส่วนร่วม<br />ของประชาชนและพลเมืองที่มีการศึกษาดี ทีมผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ วัฒนธรรมการทำงาน เสถียรภาพทางการเมือง และภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีนครยะลา (2) ความสำเร็จของโครงการ City Branding ได้แก่ 1) นวัตกรรม City Branding นำชีวิตชีวา ชุบชีวิตเมืองด้วยการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของยะลา 2) นวัตกรรม<br />ได้สร้างความโดดเด่นและสื่อสารเอกลักษณ์ของเมืองและสร้างการยอมรับ<br />ในเชิงบวกให้กับเมือง 3) นวัตกรรมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการนำทุนท้องถิ่นมาสร้างภาพลักษณ์ ประการสุดท้าย ปัจจัยแห่งความสำเร็จในโครงการ City Branding ได้แก่ การวินิจฉัยปัญหาที่ถูกต้อง ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรี กระบวนการและการดำเนินการที่ชัดเจน วัฒนธรรมประชาธิปไตย การสร้างความเข้าใจและความปรองดองในสังคม<br />พหุวัฒนธรรม การสร้างความเป็นเจ้าของ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่าย</p> จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260526 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณี โครงการการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262074 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณี โครงการการแก้ไขปัญหา<br />คนไร้สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเทศบาลนครอุดรธานี ต่อการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะของเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และ<br />การสังเกตการณ์ ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านการสร้างกลยุทธ์ มีการสร้างกลยุทธ์การบริการเชิงรุก กำหนดให้สอดคล้องกับสภาพของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรับวิธีการบริหารให้ทันต่อสถานการณ์และกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต <br />(2) ด้านการสร้างความคิดใหม่ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านงานทะเบียนให้บุคลากร นำความคิดใหม่ ๆ เข้ามาในการบริหารจัดการนวัตกรรม (3) ด้านการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด มีการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาและช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ยึดหลักธรรมาภิบาล การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการดำเนินการให้เกิดความถูกต้อง (4) ด้านการนำความคิดที่คัดสรรแล้วไปปฏิบัติ โครงการได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง อาทิ รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ (5) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย ส่งเสริมการบริหารระบบเปิด การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมของประชน เพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหา และการประชาสัมพันธ์ ส่วนความคิดเห็นของบุคลากรเทศบาลนครอุดรธานีต่อการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะของเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด และน้อยที่สุด คือ ด้านการนำความคิดที่คัดสรรแล้วไปปฏิบัติ ตามลำดับ</p> ศรัณย์ เจริญศิริ, สรัญญา เจริญศิริ , ปภาวี พันธพนม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262074 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษากลวิธีการตั้งชื่อภาษาจีนของละครไทย ด้วยหลักภาษาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262511 <p>บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่อภาษาจีนของละครไทยบนเว็บไซต์ taijuwang ตั้งแต่ปีค.ศ.2003-2022 จำนวน 2,158 ชื่อ โดยนำแนวคิดด้านภาษาศาสตร์ของหูจ้วงหลิน ผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีภาษาศาสตร์มาใช้ในการวิจัยและนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบ 1) ด้านระบบเสียง ชื่อภาษาจีนของละครไทยนิยมใช้คำสี่พยางค์มากที่สุดและให้ความสำคัญกับสัมผัสฉันทลักษณ์ผิงเจ้อ 2) ด้านคำศัพท์ ปรากฎคำที่มีความถี่<br />ในการใช้สูง 3) ด้านไวยากรณ์ พบการใช้โครงสร้างวลีรูปแบบส่วนหลัก-ส่วนขยาย และโครงสร้างประโยคบอกเล่าเป็นหลัก 4) ด้านโวหาร พบการใช้รูปแบบคำพ้องเสียง อัญพจน์ ภาพพจน์แบบนามนัย และการซ้ำคำ 5) ด้านวัฒนธรรม ชื่อภาษาจีนของละครไทยสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมสามชาติคือ ไทย จีน และตะวันตก 6) ด้านการใช้ภาษา พบปัญหาการใช้คำไม่สุภาพ และมีความหมายคลุมเครือ ผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางการตั้งชื่อภาษาจีนของละครไทยในอนาคตได้ และส่งเสริมอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรมของไทย</p> อมรรัตน์ เนตรธัญญกรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/262511 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ภูมิทัศน์ทางภาษาของป้ายธุรกิจที่ ‘กาดกองต้า’ จังหวัดลำปางกับความเป็นพหุวัฒนธรรมที่หายไป https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263452 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนภาษาบนป้ายธุรกิจที่กาดกองต้า จังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลจากป้ายธุรกิจ จำนวน 96 ป้าย ผลการวิเคราะห์พบว่า ป้ายธุรกิจที่กาดกองต้ามีทั้งป้ายภาษาเดียว สองภาษา และพหุภาษา สำหรับป้ายภาษาเดียวพบป้ายภาษาไทยมากที่สุด คือ 66 ป้าย คิดเป็นร้อยละ 68.75 ของป้ายทั้งหมด ส่วนป้ายสองภาษาพบป้ายภาษาไทย-อังกฤษ มากที่สุด คือ 16 ป้าย <br />คิดเป็นร้อยละ 16.67 ของป้ายทั้งหมด ส่วนป้ายพหุภาษา มี 3 ป้าย คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของป้ายทั้งหมดโดยเป็นป้ายที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ส่วนภาษาไทยจะเป็นภาษาที่ใช้เสริม ต่อมาเมื่อวิเคราะห์ตัวอักษร คำศัพท์ และวากยสัมพันธ์ พบว่า ร้อยละ 62.50 ของป้ายทั้งหมดจะใช้ตัวอักษร คำศัพท์ และวากยสัมพันธ์ภาษาไทย เพราะน่าจะเพื่อสื่อสารกับคนในชุมชนเป็นหลัก ผลการวิเคราะห์<br />จึงแสดงให้เห็นว่า ป้ายธุรกิจได้แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพียงการใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารกับผู้คนในชุมชนในฐานะแหล่งค้าขายของผู้คนในท้องถิ่นเท่านั้น โดย<br />ไม่ปรากฏภาษาจีนบนป้ายตามชื่อเรียกว่าตลาดจีน</p> ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/263452 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายของมาตรการชดเชยและเยียวยา ความเสียหายในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260711 <p>ในปัจจุบันประเทศไทยดำเนินคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเข้มงวด แต่พยานหลักฐานทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานของรัฐนำมาใช้ในการคำนวณค่าเสียหายยังไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน ไม่มีการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย และศาลยุติธรรมมีอำนาจจำกัดในการกำหนดมาตรการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหาย จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายเพื่อฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทยอาจสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนได้</p> <p> บทความนี้มุ่งศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดในการกำหนดมาตรการชดเชยและเยียวยาความเสียหายในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทยเฉพาะคดีแพ่ง โดยเปรียบเทียบกับแนวทางการดำเนินการตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม หรือตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการชดเชยและเยียวยาความเสียหายในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมมากขึ้น</p> วิศณุกร แทนรินทร์, ปรมาภรณ์ วีระพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/260711 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700