อิทธิพลของภาษาแม่: การวิเคราะห์ข้อผิดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ราตรี แจ่มนิยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเขียนสะกดคำและประโยคของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายเชื้อสายกะเหรี่ยงโปและมอญ ในจังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาเฉพาะกลุ่มเกี่ยวกับ
การเขียนสะกดคำและประโยคในภาษาไทยของนักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการเขียนสะกดคำและการเขียนประโยคของนักเรียน จำนวน 120 คน จำแนกเป็นนักเรียนเชื้อสายกะเหรี่ยงโป 70 คน และนักเรียนเชื้อสายมอญ จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อผิด (error analysis) โดยเปรียบเทียบภาษาไทยที่นักเรียนเขียนในแบบทดสอบกับภาษาไทยมาตรฐาน (Standard Thai)


ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีปัญหาการเขียนสะกดคำมี 4 ประการ คือ 1) ปัญหาด้านการเขียนพยัญชนะต้น เช่น ความสับสนเรื่องอักษรสูง-อักษรต่ำคู่พยัญชนะต้น ร-ล 2) ปัญหาด้านการเขียนพยัญชนะท้าย เช่น
ความสับสนเรื่องการละตัวสะกด การซ้ำเสียงตัวสะกด และการเพิ่มตัวสะกด
3) ปัญหาด้านการเขียนสระ เช่น ความสับสนเรื่องสระเต็มรูป-สระเปลี่ยนรูป
สระเสียงสั้น-สระเสียงยาว และการเขียนรูปสระ และ 4) ปัญหาด้านการเขียนวรรณยุกต์ เช่น ความสับสนเรื่องการเขียนรูปวรรณยุกต์ ทั้งในลักษณะไม่ใส่
รูปวรรณยุกต์และเพิ่มรูปวรรณยุกต์ ส่วนปัญหาการเขียนประโยคที่พบส่วนใหญ่
เกิดจากนักเรียนขาดความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างประโยค ชนิดของคำและความหมายของคำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ สภาพแวดล้อม
ทางภาษา และความซับซ้อนของอักขรวิธีไทย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าปัญหาด้านการเขียนสะกดคำ และการเขียนประโยคของนักเรียนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์นั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Chomsiri, N. (2004). A Study of the Linguistic and Cultural Context of Mom Names: A Case Study of the Mom People at Wangka Village, Nonglu Subdistrict, Sangkhlaburi District, Kanchanaburi Province. [Master’s thesis, Mahidol University]. (in Thai).

Boonnark, P. (2002). Features of Misspelled Words of Prathom Suksa 5 Students in Schools Affiliated to the Office of Mae Mo District Primary Education, Lampang Province. [Master’s thesis, Chiang Mai University]. (in Thai).

Corder, S. P. (1982). Error Analysis and Interlanguage. Oxford: Oxford University Press.

Glinboobpha, W. (2016). From L1 to L2: Writing Problems Faced by Karen and Mon Students as Revealed by Error Analysis. Journal of Faculty of Arts, Silpakorn University, 38(1), 51-79. (in Thai).

Hockett, C. f. (1958). A course in modern Linguistics. New York: The Macmillan Company.

Janevarakul, R. (2003). Web-based language learning with application to Thai as a second language. [Master’s thesis, Thammasat University]. (in Thai).

Ministry of Education. (1988). Basic word account. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai).

Laksanasiri & A. B. (Ed). (2007). Sentences of Knowledge. (p. 25). Nakornpathom: Faculty of Arts, Silpakorn University. (in Thai)

Pengpanich, A. (2002). Error analysis of English Usage and Use (5th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng.

Premsrirat, S. (2004). Ethnolinguistic Maps of Thailand. Bangkok: Kuruspa Ladprao Publishing. (in Thai).

Office of the National Education Commission, Office of the Prime Minister, (1999). National Education Act B.E. 2542 (1999), B.E. 2545 (2002) and B.E. 2553 (2010). (2023, August 8). https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.

Selinker, L. (2023, August 8). Interlanguage. https://kupdf.net/queue/ interlanguage-by-selinker-1972_58

Saengawoot, S. & Li, Y. (2018). Error Analysis in Spelling Words of Students Majoring in Thai language, Faculty of Foreign Languages, College of Arts and Sciences, Yunnan Normal University for Sustainable Tourist Attraction. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 2(1), 53-64. (in Thai).

Samermit, P. (1983). Phonology of Pholow Spoken at Si Sawat District, Kanchanaburi Province. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. (in Thai).

Smally, W., A. (1994). Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicogo: The University of Chicago Press.

Thepwan, P. (2002). Ability of Reading and Writing Thai Language at Prathom Suksa 1 Level of Lisu Students in Mae Hong Son Province. [Master’s thesis, Chiang Mai University]. (in Thai).

Triwiset, S. (1999). An Analysis of Problem in Spoken and Written Thai Language of Prathomsuksa 4 Students Who Use Khmer and Suai Daily Life Amphoe Khun Han, Changwat Si Sa Ket. [Master’sthesis, Srinakharinwirot University]. (in Thai)