แนวทางสู่ความสำเร็จการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ไปปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล และนำเสนอแนวทางสู่ความสำเร็จการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ไปปฏิบัติ เป็นงานวิจัยผสมผสาน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ด้วยแบบสอบถาม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง 5 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคุณ การจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า มี 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จฯ ได้แก่ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน โครงสร้างระบบราชการ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.588 สามารถร่วมทำนายความสำเร็จฯ ได้ร้อยละ 34.6 และแนวทางสู่ความสำเร็จฯ ได้แก่ 1) มีการกระจายข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึงและข้อมูลต้องไม่คลาดเคลื่อน
2) มีบุคลากรในการดำเนินงานที่เหมาะสมกับการดำเนินงาน 3) สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ และ 4) มีโครงสร้างการบริหารที่มีสายบังคับบัญชาที่สั้นและคล่องตัว
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Berman and Mclaughlin. (1977). Factors Affecting Implementation and Continuation.: M.W. Federal Programs Supporting Education Change.
Berry, William D. and Feldman, Stanley. (1985). Multiple Regression in Practice. Newbury Park: Sage Publications.
Division of Welfare Protection and Enhancing the Quality of Life. (2018). Action Plan to Drive the Control of Begging 2559 (2016) No.1, 2019 – 2021. http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc.php?doc_ref=284. (in Thai)
Division of Welfare Protection and Enhancing the Quality of Life. (2020). Summary Report of the Training Program for Competent Officials under the Begging Control Act, B.E. 2559 (2016) Batch 2, Fiscal Year 2020. (in Thai)
Durrenda Nash Ojanuga. (1990). Kaduna Beggar Children: A Study of Child Abuse and Neglect in Northern Nigeria. University of Maine.
Gorge C. Edwards. (1984). Implementing Public Policy. Washington, D.C.: Congressional Quarterly Press.
Likert R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Prakaidao Phoothubthimthong. (2015). A Trend to the success in implementation of supporting personnel development policy. A case study of Rajamangala University of Technology Krungthep, 120-136. M. A. Thesis, Master of Arts degree (Public Administration): Mahidol University. (in Thai)
Somporn Fuengchan. (2009). Public Policy, Theory and Practice. Edition 1. Bankok : ON ART CREATION CO., LTD.
Sasithorn Musikasiri. (2016). Criminal liability related to panhandling. Thammasat University
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York.Harper and Row Publications.