ป้ายและชื่อธุรกิจการค้าในท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วิเคราะห์ลักษณะเด่นของการใช้ภาษาในป้ายและชื่อธุรกิจการค้าที่ปรากฏในท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีตามแนวคิดภูมิทัศน์
เชิงภาษาศาสตร์ (Linguistic landscape) ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่ที่มีสภาวะพหุภาษา (Multi Language) แม้ปรากฏการณ์ทางภาษาดังกล่าวจะไม่สอดคล้องกับนโยบายภาษาที่รัฐบาลไทยพยายามส่งเสริมสนับสนุนภาษาเดี่ยว (Unilingual language policy) แต่เพื่อ การรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติและพัฒนาให้ท่าอากาศยานเป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนความหลากหลายของวัฒนธรรมต่าง ๆ จึงควรปรับปรุงรูปแบบของการจัดทำนโยบาย เเนวปฏิบัติทางภาษาให้มีความหลากหลาย ทันสมัย และเหมาะสมกับการนำไปใช้ได้จริง เช่น การกำหนดใช้ภาษาที่หลากหลายมากกว่าภาษาเดี่ยว การกำหนดรูปแบบของป้ายโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะให้เป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน การเลือกใช้ภาษาและอักษรที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน เป็นต้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว