การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ ปี พ.ศ. 2551-2557

Main Article Content

พรรณี สวนเพลง
จตุพล ดวงจิตร
นวนันทน์ ศรีสุขใส
ปณิชา ตันสูติชล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหรือแก้ไขกฎระเบียบ กระบวนการดำเนินโครงการการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวิธีการศึกษาวิจัยแบบผสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ (1) ด้านระเบียบและแนวทางปฏิบัติ (Context) อยู่ในระดับมาก ( =3.57, S.D.=0.85) กล่าวคือ ระเบียบและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการฯ มีความเหมาะสม (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( =4.13, S.D.=0.76) โดยเห็นว่าบุคลากรของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความพร้อม
(3) ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.=0.72) โดยเห็นว่าบุคลากรในหน่วยงานมีศักยภาพในการดำเนินโครงการฯ (4) ด้านผลผลิต (product/outcome) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.17, S.D.=0.73) กล่าวคือองค์กรมีการบริหารจัดการโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ เห็นควรให้มีการวัดประเมินผลโครงการฯ เป็นรายครั้งและควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)