ความผูกพันในงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา : ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย

Main Article Content

กฤษฎา ฉัตรวิไล
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันในงานและระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันในงานและระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 338 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ t-Test และ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความผูกพันในงานโดยรวมและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากและปานกลาง ตามลำดับ 2. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกันมีความผูกพันในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันในงานไม่แตกต่างกัน 3. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ แตกต่างกัน มีระดับความคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)