การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาระบบการผลิตยางพาราและไม้ผล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการผลิตยางพาราและไม้ผลของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง และศึกษาการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวสวนยาง
ที่มีระบบการผลิตยางพาราและไม้ผลจำนวน 40 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา แนวคิดระบบการผลิตทางการเกษตร และกรอบการดำรงชีพ
อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์หลักของระบบการผลิตยางพาราและไม้ผล คือ เพื่อเป็นอาชีพหลักของครัวเรือน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมส่งผลมากที่สุดต่อการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางมีสินทรัพย์ในการดำรงชีพโดยภาพรวมระดับน้อย ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ในการดำรงชีพที่สำคัญของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง คือ การจัดการทางการเงิน ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางมีผลลัพธ์ในการดำรงชีพโดยภาพรวมระดับน้อย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว