“บะข่างโว่” ของเล่นพื้นบ้าน เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
“บะข่างโว่” คือ ลูกข่างชนิดหนึ่งที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการทำ มีเอกลักษณ์อยู่ที่เสียงดัง “โว่ๆ” ในขณะที่ลูกข่างกำลังหมุน สันนิษฐานว่าบะข่างโว่เป็นของเล่นที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถูกห้ามเล่นในช่วงระหว่างสงคราม ทำให้ความนิยมเล่นบะข่างโว่ลดลง ปัจจุบันของเล่นพื้นบ้านชนิดนี้กำลังสูญหายไปจากชุมชนและสังคม บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน “บะข่างโว่” ในบริบทของเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ ขั้นตอนการทำ วิธีการเล่น เทคนิคการเล่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน กติกาการแข่งขัน รวมถึงคุณค่าและประโยชน์ของบะข่างโว่ ทั้งนี้องค์ความรู้ทั้งหมดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept interview) และการจัดการความรู้ (Knowledge management: KM) จากปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ในชุมชน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ณัฐวุฒิ สมยาโรณ และอัจฉรา ศรีพันธ์. 2557. “กลุยทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย”. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 9, 2: 60-69.
พีรวัฒน์ ชลเจริญ และสุธนะ ติงศภัทิย์. 2558. “ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านอาเซียนที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษา”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10, 2: 322-334.
มณิษวาส จินตพิทักษ์. 2552. ที่ว่างและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการละเล่นล้านนาของเด็กในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณวิภา เที่ยงธรรม และอัญญมณี บุญซื่อ. 2557. “ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9, 1: 473-487.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2547, 23 มีนาคม). เรียนฟิสิกส์พิศวง จากของเล่นพื้นบ้านล้านนา. ข่าวสด, น. 34.
ขจรศักดิ์ ปัญญาเรือง. ผู้รู้ในชุมชน และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม. สัมภาษณ์. 10 เมษายน 2558.
คัณโท อินทแกล้ว. ปราชญ์ชาวบ้าน และประธานกลุ่มอนุรักษ์ขี้เฝ่า. สัมภาษณ์. 28 มีนาคม 2558.
จันทร์แก้ว อินต๊ะแก้ว. ผู้อาวุโสในชุมชน และประธานสภาวัฒนธรรมตำบลฟ้าฮ่าม. สัมภาษณ์. 30 มีนาคม 2558.
ชุมพล สวิงวงค์. ผู้รู้ในชุมชน. สัมภาษณ์. 20 เมษายน 2558.
บุญเลิศ ตีคัง. ผู้รู้ในชุมชน. สัมภาษณ์. 7 เมษายน 2558.
ประณีต เธียรสิริ. ผู้อาวุโสในชุมชน. สัมภาษณ์. 20 มีนาคม 2558.
ประยูร รังษี และธงชัย ตราพันธ์. ผู้รู้ในชุมชน และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม. สัมภาษณ์. 29 มีนาคม 2558.
ปรีชา สัมมาทรัพย์. ผู้อาวุโสในชุมชน และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม. สัมภาษณ์. 21 มีนาคม 2558.
วิชา ตันสุหัส. ผู้รู้ในชุมชน. สัมภาษณ์. 2 เมษายน 2558.
อานนท์ ไชยรัตน์. ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสลีปิงจัยแก้วกว้าง.
สัมภาษณ์. 18 มีนาคม 2558.
อุดม รังษี. ผู้อาวุโสในชุมชน และเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ปี พ.ศ. 2553. สัมภาษณ์. 30 มีนาคม 2558.