ศิลปกรรมและโบราณสถานสมัยอยุธยาในจังหวัดเพชรบุรี สำหรับมัคคุเทศก์

Main Article Content

สงกรานต์ กลมสุข

บทคัดย่อ

                  ความสำคัญของเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองท่าทางการค้าทางชายฝั่งทะเลตะวันตกที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา ปรากฏให้เห็นเด่นชัดโดยเฉพาะสมัยสมเด็จพระนารายณ์ จึงทำให้ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของอยุธยาตอนปลาย ซึ่งงานศิลปะต่าง ๆ นั้นมีแบบฉบับเป็นของตนเองที่เรียกว่า “ฝีมือสกุลช่างเมืองเพชรบุรี” ที่มีความสวยงาม โดดเด่น และมีเทคนิคการก่อสร้างตามศิลปะไทยแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะประติมากรรมปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนังและอาคารแบบโค้งท้องสำเภาที่ปรากฏให้เห็นตามวัดเก่าแก่ต่าง ๆ ในตัวเมืองเพชรบุรี โดยผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเหล่านั้น ผ่านทางโบราณสถาน อันได้แก่ วัดใหญ่        สุวรรณาราม วัดไผ่ล้อม วัดเกาะแก้วสุทธาราม วัดมหาธาตุวรวิหาร และวัดสระบัว โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์หรือผู้นำชมวัดต่าง ๆ เหล่านี้ให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการจัดนำเที่ยวด้านศิลปะและวัฒนธรรมแก่นักท่องเที่ยว และสามารถอธิบายข้อมูลทางศิลปกรรมของวัดต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อให้การท่องเที่ยวนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic articles)

References

กรมศิลปากร. 2459. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. 2558. ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเพชรบุรี. จาก
https://phetchaburi.go.th/phet2/CODE/content/read/43_ประวัติความเป็นมา.VpckgLaLR1s สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2547. อยุธยา : Discovering Ayutthaya. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ธงชัย เปาอินทร์. 2555. งดงามล้ำค่าวัดมหาธาตุวรวิหาร. จาก
https://www.thongthailand.com/index.php?lite=article&qid=
41987833 สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559.

ราชกิจจานุเบกษา. 2460. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการเปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 34 ตอนที่ 0ก.

ราชกิจจานุเบกษา. 2478. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช 2478. ราชกิจจานุเบกษา 52 : 1708-1711.

พิชญา สุ่มจินดา และนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. 2559. เพชรในเพชรบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์.

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. 2550. ตามเส้นทางงานช่างโบราณ “ประวัติศาสตร์กับ การท่องเที่ยว”. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ : เอส.พี.วี. การพิมพ์ จำกัด.

สนอง ประกอบชาติ. 2534. เอกสารประกอบการเรียนวิชาท้องถิ่นของเรา เพชรบุรี. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์.

สุรศักดิ์ รอดเพราะบุญ. 2538. การออกแบบพระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี. 2554. ประวัติวัดมหาธาตุ. จาก https://www.watmahathat.net/index.php?option=com_content&vi ew=article&id=46&Itemid=54 สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559.