มาตรการทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบการตั้งข้อกล่าวหา ของพนักงานสอบสวนโดยพนักงานอัยการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับมาตรการตรวจสอบการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน สภาพปัญหาทั้งในข้อเท็จจริงและในข้อกฎหมาย หลักกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนของต่างประเทศเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการนำมาตรการตรวจสอบการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนโดยพนักงานอัยการมาใช้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ด้วยการรวบรวบข้อมูลและการวิจัยแบบเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In dept interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวน
ผลการวิจัยพบว่า ในการดำเนินคดีอาญาของไทย การตั้งข้อกล่าวหาเป็นการเริ่มต้นดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ต้องหาโดย ปราศจากการสอบสวนเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบ มูลคดีและเป็นดุลยพินิจเพียงฝ่ายเดียวของพนักงานสอบสวน ทำให้ขาดการตรวจสอบ กลั่นกรองความชอบด้วยกฎหมายและการถ่วงดุลจากองค์กรภายนอก จึงมีข้อผิดพลาดในการสอบสวน การฟ้องคดีและการพิพากษาคดีอาญาของรัฐ ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในคดีอาญาอย่างรุนแรงและเอื้อต่อการประพฤติมิชอบของพนักงานสอบสวน ผู้วิจัยมีข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อกำหนดมาตรการตรวจสอบการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนด้วยการให้พนักงานสอบสวนต้องทำการสอบสวนเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบมูลคดีก่อนตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาและให้พนักงานอัยการมีหน้าที่ตรวจสอบ ถ่วงดุล ดุลยพินิจ ในการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน ทั้งนี้เพื่อให้การสอบสวนและดำเนินคดีอาญาของรัฐมีประสิทธิภาพและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2548). มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.
โกเมน ภัทรภิรมย์. (2533). การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนในอัยการ กับการสอบสวนคดีอาญารวมบทความเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา ในนานาประเทศ. ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการ กรมอัยการ. กรุงเทพฯ : ชุติมาการพิมพ์.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
คนึง ฦาไชย. (2541). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เริงธรรม ลัดพลี. (2528). คำบรรยายสัมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Shahid M. Shahidullah. (2012). Comparative Criminal Justice Systems. Burlington USA. : Jones & Bartett Learning.