เขาใหญ่ : การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและกลุ่มทุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งทำการศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่บนถนนธนะรัชต์ ถนนเขาใหญ่-วังน้ำเขียว และถนนผ่านศึก-กุดคล้า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยทำการศึกษาในมิติของกลุ่มทุนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2559 โดยใช้วิธีการการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ในกรอบของแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและแนวคิดเกี่ยวกับชนบทและเมือง
ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขาใหญ่นั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มทุนภายนอกที่มุ่งแสวงที่ทำกิน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือช่วงแรกนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแบบยังชีพสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ ในขณะที่อีกช่วง คือ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์สู่การใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงท่องเที่ยว
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ, มติชน.
Bualek, P. (2002). The Thai capitalists in 1914-1939. Bangkok: Phanthakit.
พรรณี บัวเล็ก (2545). ลักษณะนายทุนไทยในช่วง 2457-2482: บทเรียนจากความรุ่งโรจน์สู่โศกนาฏกรรม. กรุงเทพฯ, พันธกิจ.
Intakhantee, N. The Innovation of Phuket capitalists in 1972-2008. Master of Art : Chulalongkorn University.
Natsupa, C. (1985). The Thai Village Economy in the past. Bangkok: Sangsan Press.
Ouyyanont, P. (2015). A Regional Economic History of Thailand.
Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Pathmanand, U. (1992). “The Role of Thai Capitalists in 1976-1991”. In State, Capital, Local capitalists and Social. pp. 63-108.
Phongpaichit, P and Piriyarangsan, S. (ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Skinner, G. W. (1957). Chinese society in Thailand: An analytical history. Ithaca: Cornell University Press.
Singtong, J. (2000). Sociocultural and Economic Change in Lower Northeaster Region : A case study od Moo Si district, Amphur Pak Chong, Nakornratchasima Province. Master of Art: Chulalongkorn University.
Sukkriangkrai, S. (1980). The Original of the capitalist class in Thailand (1855-191). Bangkok: Sangsan Press.
Theerawongseri, T. (1973). Sathanaphap thang kotmai khong chao Chin nai Prathet Thai. Bangkok: Samnak Phim Odian Store.
Ueda, Y. (1995). The Formation of Local Entrepreneurs in Thailand: A case study of Nakhon Ratchasima. Japan: Kyoto University Press. Available at: https://repository.kulib.kyoto-u.ac.jp/dspace/bitstream/2433/65883/1/D_Ueda_Yoko.pdf (Accessed 6 November 2015)