กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบรับการตักเตือนในภาษาไทยและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ “บทความเรื่องนี้ได้ถูกถอนออกจากวารสารฯ เนื่องจากการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนของบทความ”

Main Article Content

สิทธิธรรรม อ่องวุฒิวัฒน์

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบรับการตักเตือนและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบรับการตักเตือนตามแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย (Emacipatory Pragmatics) โดยใช้แบบสอบถามประเภท Discourse Completion Test (DCT) จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลากหลายคณะและหลากหลายชั้นปีจำนวน 100 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน   ผลการวิจัยพบว่าผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการตอบรับการตักเตือนมากกว่ากลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบรับการตักเตือนมี 2 ส่วน คือ 1.ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ หรือปัจจัยในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา และ2.ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ หรือปัจจัยในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบรับการตักเตือน พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 3 ประการ ได้แก่ 1. การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self) 2.ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism)  และ3.ความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง (High context culture )

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Bilmes, J. (1992). “Dividing The Rice: A Microanalysis of Mediator’s Role in A Northern Thai Negotiation” Language in society21: 569-602.

Hall, S. (1976). Visual culture: the reader. London;: SAGE Publications.

Hanks,W, Ide,S, and Katagiri,Y. (2009). Introduction Towards an emancipatory pragmatics. Journal of Pragmatics 41: 1-9

Hofstede, G. (1984). Culture's consequences: international differences in work-related Values. Beverly Hills: Sage Pub.

Hofstede, G. (1987). Culture's consequences: international differences in work- related values .Beverly Hills : Sage Pub.

Jandt, F. E., and P.B. Pederson. (1996). Constructive conflict management: Asia – Pacific cases. ThousandOaks;CA: Sage Publications.

Klauser, W, J. (1981). Reflections on Thai Culture. Bangkok: Suksit Siam.

Markus, H. R., and Kitayama,S. (1991). Culture and the Self: Implications for Cognition, Emotion, and Motivation.Psychological Review98, 2:224-253.

Mulder, N. (1996). Inside Thai society : An interpretations of everyday life. Amsterdam: Pepin Press.

Panpothong, Natthaporn. (2012). Pragmatics in Thai. (Unpublished). (in Thai)

Podhisita, C. (1998). Buddhism and Thai world view.In Amara Ponsapich(eds), Tradittionnal And Changing Thai World View, pp. 29-62. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Pongsapich, A (eds). (1998). Traditional and changing Thai world view. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Triandis, H, C. (1995). Individualism and collectivism. Boulder: Westview Press.

Yaowarittha, Chanwit. (2011). The Concept of "Bunkhun" and Three Types of Speech Acts in Thai Society Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)