การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด

Main Article Content

รัฐอัครธีร์ อัครธีรฐิติภูมิ
ประภากร วงศ์ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิดในรายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดการเรียรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 จำนวน 60 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย  แบบประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (𝑥̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent) และการประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) กำหนดเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) ประกอบแผนผังความคิดในรายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 มีประสิทธิภาพสูงเมื่อวัดตามเกณฑ์ 80/80 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Article Details

How to Cite
อัครธีรฐิติภูมิ ร., & วงศ์ใหญ่ ป. . (2025). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(1), 132–141. https://doi.org/10.14456/hsi.2025.10
บท
บทความวิจัย

References

ภริตา ตันเจริญ. (2561). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุริยะ หาญพิชัย. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Student Teams Achievement Divisions (STAD) ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(3), 23–32.

แคทรียา ใจมูล. (2550). อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยส้นยาววิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รัฐอัครธีร์ อัครธีรฐิติภูมิ. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วย วิธีพิจารณาความแพ่ง 2 ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. หลักสูตรปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice (2nd ed.). Allyn & Bacon.