การพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านก้านเหลืองดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก และแบบทดสอบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวกของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนภาพรวม 25.07 คิดเป็นร้อยละ 83.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด เท่ากับ 95.71 และ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด เท่ากับ 71.42 2) ผลเปรียบเทียบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก พบว่า หลังการใช้เกมและการเสริมแรงทางบวกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง สูงกว่าก่อนการใช้เกมและการเสริมแรงทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อมูลภาพ เสียง วิดีโอ และข้อความที่ปรากฎบนเว็บไซต์นี้ ผู้นำไปใช้จะถูกอนุญาตให้นำไปใช้ได้ โดยจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มา จะต้องไม่นำไปใช้เพื่อการค้า และจะต้องไม่ดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)
References
กรมวิชาการ. (2545). การเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษร สีหา.(2558). การพัฒนาการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้เกมการศึกษาประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิรวัฒน์ สุขไสย. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เกมตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 92-102.
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภาพ แซ่เชี่ย. (2560). การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษา ขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น
ล้อน สายยศ และ อังคนา สามยศ.(2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น.
วรรณธิดา ยลวิลาศ. (2562). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนด้วยเกมมิฟิเคชั่น. ใน นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อความยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 1 (น. 378-391). มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วิสารัตน์ ทองเพียร. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่าน และการสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเสาธงนอก. สมุทรปราการ: โรงเรียนวัดเสาธงนอก.
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2554). บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรุณี บุญญานุกูล. (2562). ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 237-252.
Anderson-Cooper, A.(2020). Using games as a tool to teach vocabulary to English language
learners (Order No. 27956866) Available from ProQuest Dissertations and
Theses Global. From https://www.proquest.com/openview/975e29ad84e18cdacedacae3547445a9/1?cbl=44156&pq-origsite=gscholar