การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและ สามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra

Main Article Content

สาธุชน เขตบุญพร้อม
สมใจ ภูครองทุ่ง
ประภาพร หนองหารพิทักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเมืองสมเด็จ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบที
ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra มีประสิทธิภาพ 70.65/70.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra สูงกว่าก่อนใช้การจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการพัฒนาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565, จาก

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source

=web&cd=&ved=2ahUKEwiF462al-76AhWPpVYBHQOkBN8QFnoECBsQAQ&url=https

%3A%2F%2Fwww.bic.moe.go.th%2Fimages%2Fstories%2F5Porobor._2542pdf.pdf&usg

=AOvVaw0CJVoyODunV2zLI8G69pA9

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการพัฒนาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงพัฒนาธิการ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwiYyvPPke76AhUaSmwGHeelAMQQFnoECB0QAQ&url=http%3A%2F%2Fmath.ipst.ac.th%2Fwp-content%2Fuploads%2F2015%2FPDF%2FCurriculum%25202551.pdf&usg=AOvVaw2ICG9j4GP-lSNkJq35kifS

ณัฐศรณ์ ภูดี, ปวีณา ขันธ์ศิลา, และประภาพร หนองหารพิทักษ์, (2566). ผลการใช้โปรแกรม GeoGebra ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ฟังก์ชัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(1), 51-64.

ดาวเรือง บุตรทรัพย์. (2560). การใช้โปรแกรม Geogebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4MAT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการทดสอบสมมติฐาน. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นุชนาฎ ม่วงมุลตรี, ภัสสรา อินทรกำแหง, ปิลันธนา ศุภดล, นวลพรรณ เพียงเกษ, และสุธาสินี พูลพิพัฒน์,(2549). การพัฒนาแผนการเรียนรู้ด้วยวิธี LESSON STUDY กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมพัฒนาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมพัฒนาปีที่ 6 โดยใช้นวัตกรรมแบบ Open Approach. นวัตกรรมการเรียนการสอน Journal of Learning and Teaching Innovation, 3(3), 16-24.

พัทธยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมพัฒนาปีที่ 5. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, หลักสูตรการพัฒนามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พงษ์ศักดิ์ วุฒิสันต์. (2556). "GeoGebra อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของครูคณิตศาสตร์. นิตยาสาร สสวท, 41(181), 13–16

พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพิพัฒน์ ชินมาตย์, ประภาพร หนองหารพิทักษ์ และ สมใจ ภูครองทุ่ง. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม GeoGebra. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 9. การประชุมวิชาการระดับชาติ (น. 630-638). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สรรเสริญ อินทร์ศิริ, สุมา แท่นนิล, อิสราภรณ์ ทองสมนึก, และปิยวัฒน์ เนียมมาลัย,(2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเปิด (Open Approach) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ด้วยโปรแกรม GeoGebra ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา.วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 6(2), 14-24.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). การสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยโปรแกรม GeoGebra. (1960). สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/1YJPcpAk6FfQb9RP3FBumLvZIgDgOpTUo/view?fbclid=IwAR1TVaqp_IoozgqC786fBHWA5_GqQ_tRcU8xfkeRiipt8UBYbOho5cY_4KY

Dijana and Aleksandar. (4 March 2017). GeoGebra as e - Learning Resource for Teaching and

Learning Statistical Concepts. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก

https://www.researchgate.net/GeoGebra….Statistical/

Geogebra.org. (5 March 2017). "GeoGebra คืออะไร". สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://www.geogebra.org/about?ggbLang=th

Nohda, N. (1986, August). A STUDY OF "OPEN-APPROACH" METHOD IN SCHOOL MATHEMATICS TEACHING FOCUSING ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ACTIVITIES. Tsukuba Journal of Educational Study in Mathematics. 5 : 19-31

Saisin, C., Tunapan, M.andChutiman, N. (2019). Development of Mathematics Learning Activities by Using GeoGebra Program onTopic Sequences and Series for Grade 11 Students(in Thai). Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 25(2), 82-95.

Theodosia Prodromou. (4 March 2017). GeoGebra in Teaching and Learning Introductory Statistics. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จากhttps://www.researchgate.net/publication/321386137_GeoGebra_in_teaching_and_learning_introductory_statistics