การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พันนิภา สุพรม
สมใจ ภูครองทุ่ง
ประภาพร หนองหารพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาไชยพิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 41.22 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.43 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญของสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สุพรม พ., ภูครองทุ่ง ส., & หนองหารพิทักษ์ ป. (2023). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 35–50. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิรัชญา นวนกระโทก. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 93 - 106.

เจตสุภา สังข์ทองดี. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ณัฐพร เอี่ยมทอง. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบการสอนปกติ [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). วิจัยการเรียนการสอน. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

โรงเรียนมหาไชยพิทยาคม. (1 กุมภาพันธ์ 2564). รายงานการประเมินตนเองสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก mahachaipittayakom: https://online.anyflip.com/fgius/gkal/mobile/

โรงเรียนมหาไชยพิทยาคม. (2565). ข้อมูลนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://www.mahachaipittayakom.ac.th/student.html

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2538). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศึกษาพร.

วริศรา อ้นเกษ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 285 - 296.

วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เรื่อง อัตราส่วนและ ร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สามารถ ภูพาดศรี, และ พนมพงศ์ สุวรรณสิงห์. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ (PLC) โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้การใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เรื่องสถิติ [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สิรินดา ครุธคำ. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อำภา บริบูรณ์. (2022). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และทีมแข่งขัน (TGT) ที่เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เจตคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 3(5), 107-131.

Aljaberi, N. M., & Gheith, E. (2015). University students’ level of metacognitive thinking and their ability to solve problems. American International Journal of Contemporary Research, 5(3), 121-134.

Dita, P. P. S., Utomo, S., & Sekar, D. A. (2021). Implementation of Problem Based Learning (PBL) on interactive learning media. Journal of Technology and Humanities, 2(2), 24-30.

Handayani, A., & Koeswanti, H. D. Meta-Analisis Model Pembelajaran Problem Based Learning (PBL) untuk Meningkatkan Kemampuan Berpikir Kreatif. Jurnal Basicedu, 5(3), 1349- 1355.

Masitoh, L. F., & Fitriyani, H. (2018). Improving students’ mathematics self-efficacy through problem based learning. Malikussaleh Journal of Mathematics Learning (MJML), 1(1), 26-30.

Reed, S. S., Mullen, C. A., & Boyles, E. T. (2021). Problem-Based Learning in Elementary School. Springer International Publishing.

Syaiful, S., Muslim, M., Huda, N., Mukminin, A., & Habibi, A. (2019). Communication skills and mathematical problem solving ability among junior high schools students through problem-based learning. International Journal of Scientific & Technology Research, 8(11), 1048 – 1060.