ความพึงพอใจในการปฎิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ทัศวรรณ เศวตบุบผา
สุทธาวรรณ ซาโต้

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) ศึกษาความแตกต่างของแรงจูงใจในปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ คือ พนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0.994 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent t-test และ F-test


  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 40 ปี ประสบการณ์ทำงาน 5–10 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและรายได้เฉลี่ย 20,001-50,000 บาทต่อเดือน เป็นลูกจ้างปฏิบัติการ 1) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานขององค์กรในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ในด้านแรงจูงใจภายนอกและด้านแรงจูงใจภายใน 3) ความแตกต่างของแรงจูงใจในปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันด้าน อายุ ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและตำแหน่งงาน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์ สูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านนโยบายและการบริหาร รองลงมา คือปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการปกครองบังคับบัญชา และน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านสภาพการทำงานและมั่นคง

Article Details

How to Cite
เศวตบุบผา ท. ., & ซาโต้ ส. . (2023). ความพึงพอใจในการปฎิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(1), 64–79. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

เกตุแก้ว พันชั่ง และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.).วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 20(1), 119-128.

จันทราภา จิตรแก้ว. (2559). ประสิทธิภาพการจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดตรัง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(1).

ชนากานต์ ปานบำรุง (2562). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐนันท์ ช้างพลี. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดส่วนกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. (พิมพ์ครั้ง ที่ 18). กรุงเทพฯ : บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธนาคารออมสิน. (2565). การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www.gsb.or.th/others/hrplc.

Herzberg, F., Mathapo, J., Wiener, Y., & Wiesen, L. E. (1974). Motivation-hygiene correlates of mental health: An examination of motivational inversion in a clinical population. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 42(3), 411–419.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York.Harper and Row Publications.