การเปรียบเทียบการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของวารสารวิชาการในประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐธกานต์ จันดาโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการของวารสารวิชาการในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับผลการดำเนินงานของวารสารวิชาการในประเทศไทย และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของวารสารวิชาการในประเทศไทย โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารวารสารวิชาการในประเทศไทย จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และผ่านการทดลองใช้กับผู้ปฏิบัติงานวารสารวิชาการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยได้ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัย พบว่า 1) วารสารวิชาการในประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.07, S.D. = 0.51) 2) วารสารวิชาการในประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.42, S.D. = 0.57) และ 3) วารสารวิชาการในประเทศไทย ที่มีกลุ่มของวารสารวิชาการในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
จันดาโชติ ณ. (2023). การเปรียบเทียบการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของวารสารวิชาการในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(1), 36–50. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.4
บท
บทความวิจัย

References

กวินทร์ พิมจันนา. (2562). การจัดการและปัญหาการจัดทำวารสารวิชาการ: กรณีศึกษาวารสารการเมืองการปกครอง. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(1), 1-24.

กิตติพงษ์ อิโน. (2559). ผลกระทบของการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ดีที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์, คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิตตรานนท์ จันทะเสน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การเชิงสร้างสรรค์กับผลการดำเนินงานของ

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด, คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ. (2563). การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 (2563-2567). กรุงเทพฯ: ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย.

ธวัชชัย รัชสมบัติ. (2560). ผลกระทบของการมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์, คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภดล ร่มโพธิ์. (2553). การวัดผลองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร บุญศรี. (2557). การพัฒนาระบบบริหารจัดการบทความวิชาการออนไลน์ กรณีศึกษาบัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชชา รวยจินดา และมยุรี บุญมาศ. (2563). การพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการแพทย์เขต 11 สู่วารสารกลุ่มที่ 1 ในฐานข้อมูล TCI. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 34(3), 105-108.

มยุรี มะโนมัย ศุภพงษ์ ปินเวหา และชุติมา เรืองอุตมานันท์. (2561). ผลกระทบของกลยุทธ์การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจแฟชั่นในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 10(1), 175-185.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วุฒิพงศ์ หว่านดี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการงานวารสารวิชาการในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. (2564). [ออนไลน์]. รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI. จาก https://tci-thailand.org/list%20journal.php. [สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564].

สมคิด บางโม. (2555). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Nunnally JC. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics (Second Edition). New York: Harper &

Row.