การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2

Main Article Content

อังศิมา งามดี
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษา หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาทีมีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงาน 3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (One sample t-test)  และค่าที (Dependent Samples)


 
ผลการวิจัยพบว่า
 
1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 95.47/87.27  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
 
2) ความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังเรียนคิดเป็น 95.76 สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
 
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 87.27 คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ
 
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 

 

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

กิ่งกาญจน์ เสติ และฐาปนี สีเฉลียว. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(20), 70-81. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/266868

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 29-43. https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/18/articles/318

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาอาชีวศึกษาไทย. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 2(2), 1-9. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246495

ดุษฎี ศรีสองเมือง และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2566). การพัฒนาการจัดกาเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(18), 101-111. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/263167

ทัศนีย์ สุอาราม และพรรณราย เทียมทัน. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทำงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์, 13(8), 149-162. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/130222

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภรณ์ นนตะแสน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู ้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84), 41-50. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/250151

ปิยพัทธ์ เลือดสงคราม, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และณัฐพล รำไพ . (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 9(17), 40-52. https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/JVTE/article/view/2498

ปุญญิศา เมืองจันทึก และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2565). การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 7-22. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254349

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 67-79. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/254801

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กระทรวงศึกษาธิการ.

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

Nayar, B. and Koul, S. (2020), Blended learning in higher education: a transition to experiential classrooms, International Journal of Educational Management, 34(9), 1357-1374. https://doi.org/10.1108/IJEM-08-2019-0295

Nagaraja, N. and Davidson, B.G.J. (2024), Challenges and Transformation of Pedagogy Towards Blended Learning: A Sequential Mixed-Method Study in Higher Education. Global Higher Education Practices in Times of Crisis: Questions for Sustainability and Digitalization, (151-168). https://doi.org/10.1108/978-1-83797-052-020241010