การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning

ผู้แต่ง

  • แฝงกมล เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่โดยเทคโนโลยีเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต รูปแบบการจัดการเรียน การสอนดั้งเดิมที่มักพึ่งพาสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก ดังเช่น การใช้สมุดนักเรียนสำหรับงานในชั้นเรียนและ สมุดแบบฝึกหัดสำหรับการบ้าน แนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดี และที่ผ่านมารากฐานโครงสร้าง ของชั้นเรียนก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันก็คือ การแพร่หลายของเทคโนโลยีและบทบาทของเทคโนโลยีโลกการศึกษา เมื่อเราถูกรายล้อมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า รูปแบบการเรียนการสอน    ก็ย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน

รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่งภายใต้กระแสแห่งพัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นรูปแบบของการบูรณาการปรับใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนแบบปกติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ก้าวไกลเกิดทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้เรียกว่า “การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)” ดังที่ Allen and Seaman. 2010; Horn & Staker (2011); Bernath (2012) and Graham (2012) อธิบายไว้ว่า เป็นนวัตกรรมการศึกษา  ที่ผสมผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เป็นลักษณะของการผสมผสาน            การเรียนทางไกล (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่าย Online ร่วมกับการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face) ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมและถูกต้องตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ลึกซึ้งมากขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและการได้ร่วมทีมเรียนรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพพร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป

References

ใจทิพย์ เอื้อรัตนพงศ์. (2550). E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). “การเรียนรู้แบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ”. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 1(2). หน้า 43-49.

สมใจ จันทร์เต็ม. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมบูรณ์ กลางมณี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาโดยใช้แนวคิดเชิงประสบการณ์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

สุพรรณี แสงชาติ. (2552). ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานและแนวคิดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยวิธีอุปนัยและนิรนัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

อินทิรา รอบรู้. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Allen. I. E. and Seaman. J. (2007). Growing by Degrees: Online education in the United States, The Sloan Consortium. [Online] Available from: http://www.sloan-c.org/publications/survey/pdf/growing_by_degrees.pdf. [2020, October 6]

______. (2010) . Learning on Demand: Online Education in the United States, 2009. USA: Sloan Consortium.

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. [Online]. Available from: http://www.testden.com/partner/blended%20learn.html. [2020, October 6]

Bersin. J. (2004). The blended learning book: Best practices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco: Pfeiffer.

Bonk. C. J. and Graham C.R. (2006). The handbook of blended learning: global perspectives, local designs. San Francisco: Pfeiffer.

Carman, J. M. (2006). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. [Online]. Available from: http://www.agilantlearning.com/ pdf/Blended%20Learning%20Design.pdf. [2020, October 6]

Graham. C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. [Online]. Available from: http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf. [2020, October 10]

Graham. C.R. and Dziuban. C. (2008). “Blended Learning Environments” in Spector, M.J. et.al (Editors) Handbook of Research on Educational Communications and Technology. (3rd ed.) New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Graham. C.R., Allen. S. and Ure. E. (2003). Blended Learning Environments: A Review of the Research Literature. Unpublished Manuscript, Provo, UT.

Horn. B.M. and Staker. H. (2011) The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper. : Innosight Institute.

Sharpe. R., Benfield. G., Roberts. G. and Francis. R. (2006). The Undergraduate Experience of Blended Learning: A Review of UK Literature and Practice. [Online]. Available from: http://www.heacademic.ac.uk/assets/documents/pdf. [2020, October 5]

Singh. H. (2005). Building effective blended learning programs. [Online]. Available from: http://www.bookstoread.com/framework/blendedlearning.pdf [2020, October 5]

Suh. Sookyung. (2005). The Effect of Using Guided Questions and Collaborative Groups for Complex Problem Solving on Performance and Attitude in a Web-Enhanced Learning Environment. Ph.D. Dissertation, College of Education, the Florida State University.

Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online and traditional learning. London: Kogan Page.

Uwes, A. C. (2008). Dimensi Model Blended Learning. [Online]. Available from: http: // fakultasluarkampus.net/ 2008/11/dimensi-model-blended-learning [2020, October 7]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28