ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

รูปแบบการเขียนบทความของวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

รูปแบบการเขียนบทความของวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประยุกต์มาจากรูปแบบการเขียนบทความของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีองค์ประกอบของบทความวิจัย และบทความวิชาการ ดังนี้

  1. บทความวิจัย

ส่วนนำ

  1. ชื่อเรื่อง : กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. ชื่อผู้ทำวิจัย : ระบุชื่อ นามสกุล (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และอีเมล์
  3. ชื่อที่ปรึกษา : ระบุชื่อ นามสกุล (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) (ถ้ามี)

            วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) หน่วยงานที่สังกัด และที่อยู่ ของผู้เขียนครบทุกคน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

  1. บทคัดย่อ : เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเขียนสรุปเฉพาะสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้วเข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ โดยให้นำบทคัดย่อภาษไทยขึ้นก่อนทั้งนี้ บทคัดย่อภาษาไทยกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน
  2. คำสำคัญ : (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ไม่เกิน 4 คำ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้
    ในการเลือกหรือค้นหาเอกสารที่มีชื่อเรื่องประเภทเดียวกันกับงานวิจัยที่ศึกษา

เนื้อหาของบทความวิจัย ประกอบด้วย

  1. บทนำ : เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. วัตถุประสงค์ : ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
  3. กรอบแนวคิด : ชี้แจงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นและตัวแปรตามในการทำการวิจัย
  4. สมมติฐานการวิจัย หรือ คำถามการวิจัย (ถ้ามี)
  5. วิธีดำเนินการวิจัย

           1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

           2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ระบุการสร้างและการพัฒนาเครื่องมือ)

           3) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

           4) การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. 11. สรุปผลการวิจัย : เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับ อาจแสดงด้วยตาราง กราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้นขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำที่ชัดเจน และมีคำบรรยายใต้รูป
  2. 12. อภิปรายผล : ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งใจไว้หรือไม่เพียงใดและควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม
  3. 13. ข้อเสนอแนะ : เกี่ยวกับงานวิจัยควรเป็นข้อเสนอแนะที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
  4. บรรณานุกรม / การเขียนอ้างอิง : การอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานให้จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA7 (American Psychological Association) การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความจะแตกต่างกันไปตามประเภทของเอกสารที่นำมาอ้างอิง สามารถเปิดดูรูปแบบการเขียนได้จาก http://joe-edu.rmu.ac.th/images/JOE2020/APA7_2563.pdf
  5. ผู้เขียน/คณะผู้เขียน : ในส่วนท้ายของบทความให้เรียงลำดับตามรายชื่อในส่วนหัวเรื่องของบทความโดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และ e-mail
  1. บทความวิชาการ

ส่วนนำ

  1. ชื่อเรื่อง : กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. ชื่อผู้เขียน : ระบุชื่อ นามสกุล (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และอีเมล์
  3. 3. บทคัดย่อ : เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเขียนสรุปเฉพาะสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้วเข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ โดยให้นำบทคัดย่อภาษไทยขึ้นก่อนทั้งนี้ บทคัดย่อภาษาไทยกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน
  4. 4. คำสำคัญ : (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ไม่เกิน 4 คำ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้
    ในการเลือกหรือค้นหาเอกสารที่มีชื่อเรื่องประเภทเดียวกันกับเรื่องที่เขียน

เนื้อหาของบทความวิชาการ ประกอบด้วย

  1. 5. บทนำ : เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาในครั้งนี้
  2. 6. เนื้อหา : แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การอธิบาย การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ มีการทบทวนวรรณกรรมและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้เขียนได้ผู้เขียนนำเสนอความคิดทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วยทั้งการเปรียบเทียบ การวิพากษ์ และการเสนอแนะ
  3. 7. ส่วนสรุป: มีการสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความ
  4. บรรณานุกรม / การเขียนอ้างอิง : การอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานให้จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA7 (American Psychological Association) การพิมพ์เอกสารอ้างอิง
    ท้ายบทความจะแตกต่างกันไปตามประเภทของเอกสารที่นำมาอ้างอิง สามารถเปิดดูรูปแบบการเขียนได้จาก http://joe-edu.rmu.ac.th/images/JOE2020/APA7_2563.pdf
  5. ผู้เขียน/คณะผู้เขียน : ในส่วนท้ายของบทความให้เรียงลำดับตามรายชื่อในส่วนหัวเรื่อง
    ของบทความโดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และ e-mail

 

รูปแบบการเขียนบทความของวารสารฯ  download ได้จาก  https://shorturl.asia/Er4Yb

 

ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

          ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

การส่งบทความและการติดต่อสอบถามรายละเอียด

กองบรรณาธิการวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต แขวงดุสิต กรุงเทพ 10300

โทร. 0-2244-5502, 083-966-5550

หรือทาง E-mail:  poundy40@hotmail.com หรือ cheerapanb@gmail.com หรือ sadara63@hotmail.com