การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ เสติ
ฐาปนี สีเฉลียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับ คะแนนเต็ม 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม และ5) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสูงหนองเสียวหนองขี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 19 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก


2) การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.16/82.46 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับ คะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีทักษะการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 79.86 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. ครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 29-43.

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2561). ความท้าทายของศตวรรษที่ 21 กับการเรียนรู้ยุคใหม่. วารสารประชาคมวิจัย, 23(137), 2-7.

ทัศนีย์ สุอาราม. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่มีต่อทักษะ กระบวนการทำงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและ สังคมศาสตร์, 13(8), 149-162. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/130222

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภรณ์ นนตะแสน. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84), 41-50.

ปียพัทธ์ เลือดสงคราม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัล สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปุญญิศา เมืองจันทึก และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2565). การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 7-22. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254349

พิริยาภรณ์ บัตรศิริมงคล. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ (Davies) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 90-103.

ภัทรียา เถื่อนเทียม. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 67-79. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/254801

Nayar, B., & Koul, S. (2020). Blended learning in higher education: a transition to experiential classrooms. International Journal of Educational Management, 34(9), 1357-1374.

Utami, I. S. (2018). The effect of blended learning model on senior high school students’ achievement. In SHS Web of Conferences (Vol. 42). EDP Sciences.