การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาในรายวิชาวิทยาการคำนวณและการออกแบบเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฌัชวิทย์ อินทราราม
มานิตย์ อาษานอก

บทคัดย่อ

ความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ในรายวิชาวิทยาการคำนวณและการออกแบบ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนหลังเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเว็บตามหลักการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา มีประสิทธิภาพ 84.29/83.33 และคุณภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.54 อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด


2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 8.47 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.7


3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33


4) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.59 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลชนก จันทร. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/223/1/62910039.pdf

กิตติพร พรเกียรติคุณ, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, แสงเดือน เจริญฉิม และทำนุ ปัตพี. (2565). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 12(3), 51-62. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/257716

เกียรติกร ทองวิเศษ. (2564). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ รายวิชา การเขียนโปรแกรม เรื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 1(1), 62-71. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/248769

ณัฐธิดา กัลยาประสิทธิ์, ธิติยา บงกชเพชร และศิรินุช จินดารักษ์. (2564). การพัฒนาการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องโมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 33-44. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/250140

พุทธิทรง บุญทวี และศุภโชค สอนศิลพงศ์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านเกมด้วยระบบสนทนาออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 67-81. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/249818

วีรพงษ์ จุลสอน. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี]. https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=358&group=20

สุพัตรา ศิริเมืองราช และฐาปนี สีเฉลียว. (2565). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(14), 129-133. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254139

อธิวัฒน์ หงษ์ใหญ่ และฐาปนี สีเฉลียว. (2565). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(14), 140-141. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/253934