การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

อธิวัฒน์ หงษ์ใหญ่
ฐาปนี สีเฉลียว

บทคัดย่อ

การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้ใช้ปัญหาเป็นฐานฯ 3) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม ด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บโดยใช้ ปัญหาเป็นฐานฯ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาชุมนุมหุ่นยนต์ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการเขียนโปรแกรมบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเข้าใช้งานบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน


ผลวิจัยพบว่า


1) บทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ผลการประเมินพบว่าบทเรียนบนเว็บ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51, S.D=0.53)



2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}=14.36,S.D=4.30) และค่าเฉลี่ยหลังเรียน (=21.16,S.D=3.24)



3) ผลการประเมินทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ของนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์ โดยการจัดบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=2.57 ,S.D=0.50)



4) ผลประเมินความพึงพอใจขอผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.52,S.D=0.64)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2559). การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน แนวทางการประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนแบบผสมผสาน อิเลิร์นนิง และออนไลน์เลิร์นนิง. ุสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติพร ปานมา. (2554). การประเมินและการพัฒนาโจทย์ปัญหา (Scenario). จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 4(2), 4-7.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล ชอบใหญ่. (2559). พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยวิจัยเบื้องต้น. ประสานการพิมพ์.

พิจิตรา ธงพานิช. (2561} 8 มกราคม). วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน:รูปแบบการสอน (ADDIE Model). http://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie-model.html

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). ไม่ได้ตีพิมพ์

อุษมาพร รินทรึก. (2561) บทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑืต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรารัฐ ยัพราษฎร์. (2560). พัฒนาบทเรียนบนเว็ปโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีมี่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์และสังคมศาสตร์. ประสารการพิมพ์.

สาวิตรี หงษา, ปริยาภรณ ตั้งคุณานันต์ และฐิยาพร กันตาธนวัฒน (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง การควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 18-24.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใฃ้ปัญหาเป็นฐาน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Carlson, R.D., et al. (1998). So You Want to Develop Web-based Instruction - Points to Ponder. http://www.coe.uh.edu/insite/elec_pub/HTML1998/de_carl.htm

Khan, B. H. (1997). Web – Based Instruction. Educational Technology Publications.