ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ วิชาวิทยาการคํานวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามวัฏจักรการสืบเสาะ หาความรู้ 5 ขั้น วิชาวิทยาการคำนวณ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ 3.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ 4.เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัวแก้ว จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจากนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 7 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1.เว็บไซต์ การจัดการเรียนการสอนตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 2. แบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ โดยใช้แบบทดสอบแบบอัตนัยไม่จำกัดคำตอบ จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน 3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4. แบบประเมินความพึงพอใจในจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ฯ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยครั้งนี้มีการทดสอบ การแจกแจงข้อมูลโดยใช้ Shapiro-Wilk พบว่าไม่เป็นการแจกแจงปกติ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon matched pairs signed rank test เป็นการทดสอบสถิติที่เปรียบเทียบค่าวิกฤติ เพื่อให้ทราบค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลวิจัยพบว่า
1.การจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์ตามกระบวนการสืบเสาะ (5E) มีประสิทธิภาพของการจัดการเรียน การสอน (E1/E2) เท่ากับ 83.00/84.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (= 3.68,S.D. = 0.44)
Downloads
Article Details
References
กรมสามัญศึกษา. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษา. สํานักทดสอบทางการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2) . ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
การประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบัวแก้ว. (2563). การประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านหนองบัวแก้ว.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญา กฤตานนท์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้เครื่องมือสอนคิดเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนโนนหันวิทยายน จังหวัดขอนแก่น.
นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิพัฒน์ ไพบูลย์วัฒนกิจ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาอนาคตโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (DSpace JSPUI), http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/978
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช.
วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์,วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/85847
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544.
พริกหวานกราฟฟิค.
ไสว ฟักข้าว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. โรงพิมพ์เอมพันธ์.
Khatib, N.M. (2013). Students Attitudes towards the Web Based Instruction. Gifted and Talented International, 28, https://doi.org/10.1080/15332276.2013.11678421
Lawson, A.E. (2002).Using the Learning Cycle to Teach Biology Concepts and. Reasoning Patterns. Journal of Biological Education, 35(4), https://doi.org/10.1080/00219266.2001.9655772