การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ครู และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และแบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูจะเลือกนิทานที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ครูจะเล่านิทานโดยใช้ภาพประกอบและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการตั้งคำถาม แล้วให้นักเรียนพูดคุยและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหานิทาน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ การเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติ 3) ขั้นทบทวน และ 4) การวัดและประเมินผล แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แนวคิดไฮสโคป 2) การเล่านิทาน 2.1) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.36, S.D.=0.49) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.14, S.D.=0.38) 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.29, S.D.=0.49) 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.57, S.D.= 0.54) 4) การวัดและประเมินผล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.43, S.D.=0.54) 2.2) ผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหา
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). สอนให้เป็นอัจฉริยะตามแนวนีโอฮิวแมนนิส (พิมพ์ครั้งที่ 7). ภาพพิมพ์.
จิราวรรณ จันทร์หนองหว้า. (2566). ผลการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิด เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูป สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(18), 34-42. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/262284
จิราพร ใจห้าว, อารี สาริปา และจิราภรณ์ เหมพันธ์. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(83), 45-53. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/247296
ชุติมา ประจวบสุข. (2556). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้นิทาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฏฐา มหาสุคนธ์. (2561). การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3488
ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธนิยา สายตำลึง. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นฐานร่วมกับการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัณฑิตา ภักดีนันท์. (2564). วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮ/สโคป (High/Scope) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่มของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. ตักสิลาการพิมพ์.
พัชรมณฑ์ ศุภสุข. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานประกอบคําถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดไฮสโคป. วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
พัฒน์นรี จันทราภิรมย์. และธมนวรรณ โสพันธ์. (2565). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 57-69. https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JHET/article/view/292
ภาวิดา บุญช่วย. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรม. วารสารเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 178-189.https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/256626
รุสนี เจะเตะ, ปรีดา เบ็ญคาร และอภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว. (2563) ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับ เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่11 (1431-1445) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
วรรณภา สุขเจริญ, สรวงพร กุศลส่ง และวิชญาพร อ่อนปุย (2565). การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โครงการฟักทองเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(2), 125-134. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/253187
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้านการอ่าน. บริษัท ไอดีออล ดิจิตอลพริ้นท์จํากัด.
สุนิษา ภารตระศรี และชวนพิศ รักษาพวก. (2565). ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16 (2), 353-368. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/261008
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. Longman.
Burke, Q., & Kafai, Y. B. (2012, February). The writers’ workshop for youth programmers: digital storytelling with scratch in middle school classrooms. In Proceedings of the 43rd ACM technical symposium on Computer Science Education, (433-438).
Torrance, E. P., & Gupta, R. (1964). Development and evaluation of recorded programmed experiences in creative thinking in the fourth grade. Bureau of Educational Research, College of Education, University of Minnesota.