การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรม

Main Article Content

ภาวิดา บุญช่วย
อรพรรณ บุตรกตัญญู
ชลาธิป สมาหิโต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรม 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของทักษะการคิด การปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ จำนวนทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรม 2) แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยตามทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


สรุปผลการศึกษาดังนี้


1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรมมีคะแนนทักษะการคิด แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงขึ้นก่อนจัดกิจกรรมทั้งโดยรวมและรายด้านโดย พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.49 คิดเป็นร้อยละ 49


2. การจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ประกอบวรรณกรรมพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและ 5 ทักษะอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 1.48 คือ 1) ทักษะการเข้าใจและระบุปัญหา เด็กบอกปัญหาและสาเหตุของปัญหาได้ µ 1.45 2) ทักษะการสำรวจวัสดุสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหา เด็กจำแนก แยกแยะวัสดุสร้างสรรค์ที่หลากหลายเพื่อวางแผนในการแก้ปัญหา µ 1.55  3) ทักษะการเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหา เด็กอธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายแปลกใหม่เป็นลำดับขั้นตอน µ 1.40  4) ทักษะการลงมือปฏิบัติในการสร้างชิ้นงาน เด็กลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ µ 1.50 5) ทักษะการประเมินผลงาน เด็กประเมินผลงานของตนเองจากการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ µ 1.50

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

.กมลวรรณ ศรีสำราญ. และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562). ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจดมุ่งหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 25(2), https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/190661/158132

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 . สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศีกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรปฐมวัยศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563, 30 กรกฏาคม). UNICEF เตือน COVID-19 ทำเด็กเล็ก 40 ล้านคนทั่วโลกพลาดโอกาสเรียน. UNICEF THAILAND. https://www.eef.or.th/edu-news-31-07-20/

กิ่งกาญจน์ ทวีสวัสดิ์. (5 มีนาคม 2557). ประโยชน์ของนิทาน. EdTech Creation. https://www.edtechcreation.com/th/ articles/21474

กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2552). กระต่ายน้อยแสนซนบนดวงจันทร์. แฮปปี้คิดส์ บริษัท แปลน ฟอร์ คิด์ จำกัด.

เกริก ยุ้นพันธ์. (2554). ชาวนาไทย. เกริก ยุ้นพันธ์.

จันทร์ เพ็ญไชยมงคล. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article /view/254457

ตุ๊บปอง, นามปากกา. (2560). ไปอย่างไรดีนะ. แฮปปี้คิดส์ บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด.

ตุ๊บปอง, นามปากกา. (2562). หนูจี๊ดติดจอ. แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.

เทเรซ่า เคซีย์. และ จูเลียต โรเบิร์ตสัน. (2564). คู่มือการเล่นลูสพาร์ท : ชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้. (เข็มพร วิรุณราพันธ,

พงศ์ปณต ดีคง, และ นฤมล รื่นไวย์, ผู้แปล) มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

ธัญนายก สายทอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(2), https://so02.tci-thaijo.org/index.php /suedujournal/article/view/92241/72303

นภัสสร ไชยมโนวงศ์. (2560). ก้อนเมฆมีน้ำใจ. นานมีบุคส์.

นํ้าผึ้ง เลาหบุตร. และ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และทักษะทางสังคม โดยการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แบบโครงการ สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,16(1), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/170712/122685

พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003849

มลฤดี จันทร์สุทธิพันธุ์. (2564, 14 ธันวาคม). ร่วมเฝ้าระวังเด็กและครอบครัวกลุ่มเปราะบางในวิกฤตโควิด-19. UNICEF THAILAND. https://www.unicef.org/thailand/th/stories/

วิมล วงษ์วันทนีย์. (2553). มาลดขยะกันเถอะ. แฮปปี้คิดส์ บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด.

หทัยภัทร ไกรวรรณ. (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/85894

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562, 9 มิถุนายน). Loose parts: การเล่นวัสดุสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย. มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์. https://www. sakdibhornssup.org/

Dewey, J. (1983). The middle works, 1899-1924 (13th ed.). SIU press.

Etsuko, B. (2562). บ้านต้นไม้ 10 ชั้น. Amarin kids.

Fisher, C. J., & Terry, C. (1990). Children’s Language and the Language Arts. McGraw-Hill

Flannigan, C., & Dietze, B. (2017). Children, outdoor play, and loose parts. JOURNAL OF CHILDHOOD STUDIES, 4(42), https://www.researchgate.net/publication/328579135_Children_Outdoor_Play_and_ Loose_Parts

Nicholson, S. (1971). How not to cheat children, the theory of loose parts. Landscape Architecture, 62(1), https://media.kaboom.org/docs/documents/pdf/ip/Imagination-Playground-Theory-of-Loose-Parts-Simon-Nicholson.pdf

Piaget (1969). The Psychology Of The Child (2nd ed.). New York: Basic Books.

Vygotsky, L. S., & Cole, M. (1978). Mind in society: Development of higher psychological processes. Harvard university press.