ผลการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิด เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูป สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

จิราวรรณ จันทร์หนองหว้า
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล
อรพรรณ บุตรกตัญญู

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิด กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 16 แผน แบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปสำหรับ เด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิดมีทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปสูงกว่าก่อนการทดลองโดยการทำแบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับคุณภาพ ดี ค่าเฉลี่ย 44.74 ได้แก่ 1) ด้านการสังเกต µ 13.78 เด็กบอกรายละเอียดจากการสังเกตตามลักษณะความสัมพันธ์ได้ 2) ด้านการจำแนก µ 12.60 เด็กแยกแยะ จัดกลุ่มวัสดุเป็นหมวดหมู่ได้ 3) ด้านการเปรียบเทียบ µ 13.70 เด็กเปรียบเทียบวัสดุ 2 อย่างที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ 5) ด้านการเรียงลำดับ µ 11.40 เด็กนำวัสดุมาจัดเรียงลำดับตามความสัมพันธ์ตามรูปร่าง สี ขนาดได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลวรรณ ศรีสำราญ. และอรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562). ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างจุดมุ่งหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(2), 33-47. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/190661

กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ. (2564). ลูสพาร์ทส์เพลย์กับการศึกษาปฐมวัย: จากยุค 1970 สู่ความนิยมในศตวรรษที่ 21. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 3(2), 55-63. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/254819/171440

จุฑามณี ชัยลา. และเพ็ญศรี แสวงเจริญ. (2560). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์เรื่องแบบรูปและความสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย. การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 14”. (299-304) https://sg.docworkspace.com/l/sIPfY1925AYvkhKIG

จันทร์เพ็ญ ไชยมงคล. และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ที่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี,13(2), 468-484. https://so05.tcithaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/254457

ฐิติรัตน์ รอดทอง. และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุปลายเปิดที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทเรซ่า เคซีย์. และจูเลียต โรเบิร์ตสัน. (2564). คู่มือการเล่นลูสพาร์ท: ชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้ (Loose Parts Play). (เข็มพร วิรุณราพันธ์, พงศ์ปญต ดีคง, และ นฤมล รื่นไวย์, ผู้แปล). มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (2563). กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย. บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

Flannigan, C., & Dietze, B. (2018). Children, Outdoor Play, and Loose Parts. Journal of Childhood Studies, 42(4), 53–60. https://doi.org/10.18357/jcs.v42i4.18103

Ministry of Education Republic of singgapore Singapore Curriculum. (2013) Nurturing Early Learners Curriculum for Kindergartens in Singapore Numeracy. https://www.skillshare.com. Nicholson, S. (1971). How not to cheat children, the theory of loose parts. Landscape Architecture, 62(1),30-34. https://media.kaboom.org/docs/documents/pdf/ip/Imagination-Playground-Theory-of-Loose-Parts-Simon-Nicholson.pdf

Piaget J. (1966). The Psychology Of The Child (2nd ed.). Basic Books.

Rahardjo, M.M. (2019). How to use Loose-Parts in STEAM?. Focus Group Discussion in Indonesia. JPUD-Journal Pendidikan Usia Dini, 13(2), 310–326. https://doi.org/10.21009/jpud.132.08