การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ฮาซัน ละสูสามา

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานมัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานมัลติมีเดีย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานมัลติมีเดีย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) สังกัดเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย


ผลการวิจัยพบว่า


1. การจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดียมีประสิทธิภาพ 89.65/87.87 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


2. ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย มีทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน


3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ SQ4R ร่วมกับหนังสือนิทานส่งเสริมการอ่านประกอบมัลติมีเดีย โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x&space;}= 4.65)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์มณี ศักดิ์เจริญ. (2543). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. ชวนพิมพ์.

กุศยา แสงเดช. (2545). หนังสือส่งเสริมการอ่าน. สำนักพิมพ์แม็คจำกัด.

ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2554). การอ่านเพื่อวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิพัฒน์พงษ์ ดำมาก, ศุภณัฐ พานา และ วุฒิชัย บุญพุก (2565) การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(15) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/255040

ฟาฏินา วงศ์เลขา.(2553, 2 มีนาคม). กลไกขับเคลื่อนการศึกษาก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. เดลินิวส์,15

โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก).(2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ปีการศึกษา 2561- 2562. โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) สำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา.

วรรณี ศิริสุนทร. (2542).การเล่านิทาน.ภาพพิมพ์.

สมเกียรติ อ่อนวิมล.(2555, 23 กุมภาพันธ์). การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคตของไทยในอาเซียน. http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2013/5/2060_5264.pdf

สมิหลา นพภาลัย และ กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) กับการสอนแบบปกติ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (5) 14. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/252406

สิรีธร สุขเจริญ. (2561) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ เทคนิค SQ4R ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร] http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1467/1/57255305.pdf

อนุชา มาตา และ สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล (2565) การใช้กิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(13) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/250629

Masood, N. A. M., & Apandi, N. E. F. (2014). Development of Multimedia Application for Learning Algebra. Journal of Education and Practice, 5(5). https://www.semanticscholar.org/paper/Development-of-Multimedia-Application-for-Learning-Mokmin-Masood/abb1ad764187b3356f9a5fc2a71dd3cf83bb1492

Pauk, Walter. (1984). The new SQ4R. Reading World. 23(3) https://doi.org/10.1080/19388078409557775

Robinson, F. P..(1961). Effective study. Glasgow Harper : Revised edition.