การใช้กิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อนุชา มาตา
สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยกิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อย ความรับผิดชอบทีละน้อย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมเกมร่วมกับ รูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ One sample และ t-test แบบ Dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า


1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเกมร่วมกับรูปแบบการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” (235-241). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). อมรการพิมพ์.

ณัฐกานต์ จันทรประทัด. (2561). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ทวีศักดิ์ กสิผล. (2560). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างวิธีการสอนแบบใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับวิธีการสอนแบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญาพร ปาละวัน. และอโณทัย พลเยี่ยม เพชรแสง. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2). https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/issue/view/16722.

ภานรินทร์ ไทยจันทรารักษ์. ภัทรินธร บุญทวี. และวงจันทร์ พูลเพิ่ม. (2564). ผลการใช้เกมคำศัพท์ในการฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิวิธวรรณสาร, 5(1). https://so06.tci-thaijo. org/index.php/wiwitwannasan/issue/view/16995.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เอกสารผลการประเมิน PISA 2018: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ปีการศึกษา 2563. สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

Akhavan, N. (2019, September 4). Gradual Release of Responsibility Within Your Balanced Literacy Groups. https://corwin-connect.com/2019/09/gradual-release-of-responsibility-within-your-balanced-literacy-groups/

Bennett, C. (2020, February 20). Gradual Release of Responsibility Creates Independent Learners. https://www.thoughtco.com/gradual-release-of-responsibility-4153992

Fisher, D. & Frey, N. (2014). Better Learning Through Structured Teaching: A Framework for the Gradual Release of Responsibility (2nd ed.). Association of Supervision and Curriculum Development.

Lin, N. C., & Cheng, H. F. (2010). Effects of gradual release of responsibility model on language learning. Procedia, 2, 1868 – 1872.