การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) กับการสอนแบบปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ประกอบการสอนรายวิชาการงานอาชีพ เรื่องการเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) กับสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวนนักเรียน 23 คนเป็นกลุ่มทดลอง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวนนักเรียน 23 คน เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้ การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ชุดการเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.83 โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Group, Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent)
ผลการวิจัยพบว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่องการเลือกซื้ออาหารและการประกอบอาหาร มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.45/80.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่องการเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหารสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. ุ คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในทศวรรษ 2000. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ดวงดาว เสนเดช, ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ และทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ 2562. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชานุบาล จังหวัดน่าน. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, SocialSciences and arts) 12 (6) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/198654
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ฐานบุ๊คส์.
มัญชลา มั่งมี. (2562, 20 กรกฏาคม). การสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง ฟ้อนฮีตฮอยมือปีฮือบ้านเฮา. รักครู. https://rukkroo.com/25080/
วรพจน์ ฐานันดร. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่องคอมพิวเตอร์พื้นฐานและตารางการคำนวณโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD).http://t1nongsai.ac.th/workteacher-detail_23740
แวววิไล จำปาศักดิ์. 2560. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องลักษณนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. [สารนิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยนเรศวร
สาวินี องอาจ. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง งานบ้านส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(1) https://edu.snru.ac.th/wp-content/uploads/2020/01/10-ConED-Oral-P8-คุณสาวินี-_ok.pdf
สิริภัทร เมืองแก้ว และ กุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน).
ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2(1) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/167043
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Baum, D. E., & Chastain, T. G. (1972). Training Packages an Innovation Approach for Increasing IMP/RMP Potential for in–Service
Training in Special Education in Learning Packages in American Education. Prentice-Hall.