การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีวินัยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

ณิชา อาจเดช
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ธีรชัย บุญมาธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีวินัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan จำนวน 405 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีวินัย มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า

1. การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบของครอบครัว โรงเรียนและสังคม จำนวน 10 ข้อ ด้านเคารพสิทธิของผู้อื่น จำนวน 6 ข้อ ด้านตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม จำนวน 5 ข้อ ด้านยอมรับผลการกระทำของตน จำนวน 4 ข้อ และด้านปฏิบัติงานตามหน้าที่ จำนวน 5 ข้อ

2. คุณภาพของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัย มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 ถึง 0.64 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างมีค่า b ตั้งแต่ 0.16 ถึง 0.64 ค่า t-value ตั้งแต่ 2.72 ถึง 9.40 ค่า R-square อยู่ระหว่าง 0.04 ถึง 0.42 ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1.25 ถึง 43.79 ค่า p-value เท่ากับ 0.08 ถึง 0.56 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ถึง 1.00 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ถึง 0.99 ค่า RMR เท่ากับ 0.023 ถึง 0.033 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ถึง 0.49 และค่า ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ เท่ากับ 0.63 ถึง 1.72 แสดงว่า แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัยมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง

3. เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็นระดับดีเยี่ยม ระดับดี และระดับควรปรับปรุง ผลพบว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับควรปรับปรุง ถึงระดับดีเยี่ยมนักเรียนส่วนใหญ่มีระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีวินัยอยู่ในระดับดี จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 60

 

The purposes of this research were 1) to construct the quality scale of Desirable Characteristics on Discipline for grade first students of Secondary schools and 2) to create criteria and evaluate the Desirable Characteristics on Discipline. The samples of this research were 405 students of grade first from secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 27 in the second semester of the academic year 2554 ; they were selected with the multi-stage random technique. The instruments used in this research was the measurements of 4-alternative with 30 items of Desirable Characteristics on Discipline based on situation. The statistics used for analyze the data were mean, percentage, formula of Pearson’s Correlation Coefficient and formula of Cronbach’s Alpha Coefficient.

The Results of research were as follows:

1. The construction of the Desirable Characteristics scale on Discipline for grade first students of Secondary schools was the 30 items measurements based on the situation with 4-alternative; 10 items for the aspect following the rules of the family, school and society, 6 items for the aspect of regarding the rights of others, 5 items for aspect of the timeliness of activities, 4 items for the aspect of accepting the results of oneself and 5 items for the performances of duties.

2. The quality scale of Desirable Characteristics on Discipline was the discrimination between 0.22 to 0.64, in whole the reliability of 0.82. The accuracy of structural value b from 0.16 to 0.64. The t-value from 2.72 to 9.40 R-square values between 0.04 to 0.42 \inline \dpi{100} \chi ^{2} values of 1.25 to 43.79. P-value was 0.08 to 0.56 GFI value 0.97 to 1.00 AGFI value of 0.95 to 0.99. RMR value was 0.023 to 0.033. RMSEA value was 0.00 and 0.49. and \inline \dpi{100} \chi ^{2}/df was 0.63 to 1.72 Show that scale of Desirable Characteristics to Discipline had accuracy of structural.

3. Evaluation criteria for the measurements are divided into 3 levels which were excellent, good and needs improvement. The findings of the Desirable Characteristics on Discipline of grade first students from Secondary schools was at the level of improvement to excellent degree. The most of students at the amount of 243 or 60 percent of them had the Desirable Characteristics on Discipline at the good

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)