นาค : สำนึกร่วมทางสังคมของกลุ่มคนอาณาบริเวณลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

เอนก รักเงิน

บทคัดย่อ

“นาค” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสำนึกร่วมของกลุ่มคนลุ่มแม่น้ำโขง ที่เชื่อกันว่านาคเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง ดูแลผู้คนและทรัพยากรลุ่มน้ำโขงให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นกลไกควบคุมสังคมให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุข ซึ่งความเชื่อเรื่องนาคได้สะท้อนผ่านเรื่องเล่า และพิธีกรรมของคนลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นสังคมพุทธศาสนามาอย่างช้านาน ดั่งปรากฏในพิธีกรรมการบวชนาคที่แสดงถึงการเปลี่ยนผ่าน สถานภาพจากพุทธศาสนิกชนเข้ามาสู่เพศบรรพชิต และในตำนานพระเจ้าเหยียบโลกที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้ามีชัยชนะเหนือพวกนาคที่เป็นคนพื้นเมืองดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าท้องถิ่นที่กล่าวถึงว่านาคเป็นผู้ปกป้องและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องถิ่น ทั้งดินน้ำและสรรพชีวิตต่างๆ ดั่งปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ ตำนานเรื่องผาแดง นางไอ่ และตำนานสุวรรณโคมคำ เป็นต้น ซึ่งการที่คนลุ่มน้ำโขงมีความเชื่อร่วมกันเช่นนี้ ก็แสดงให้เห็นถึง สำนึกร่วมทางสังคมของผู้คนลุ่มน้ำโขงที่ให้ความสำคัญกับดินแดน ซึ่งสำนึกร่วมทางสังคมเหล่านี้ ก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับดินแดนและทรัพยากรท้องถิ่นยังคงเกาะเกี่ยวร้อยรัดสายสัมพันธ์ความเป็นคนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน

 

Naga : The social consciousness of the Mekong region

that represents the realization of the Mekong. Believed that Naga was sacred act to protect, care for the people and treat an abundance of resources Mekong. It is as a mechanism of social control and living a normal life. This belief is reflected through the narrative and rituals of the Mekong that is the Buddhist society which has for long time. As shown in the ordination ritual serpent that represents the transition status of Buddhists into priest. The legendary of step upon the world is said to Lord Buddha win at the serpent who is the native land of the Mekong. Beside that there are also local stories mentioned that the Naga is protecting and preserving the abundant local resources included soil, water and living organisms. As shown in the legend urangkatad, Legend of the padang-nangai and the legendary suwankomkam etc. People around Mekong basin believed together like this. It was demonstrated to social con sciousness of the people to focus on the Mekong region which present the relationship between people and the land and local resources that were still intertwine the local people into together.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)