เฮือนหิน : ถิ่นอารยธรรมขอมรูปแบบศิลปะบาปวนในลาวตอนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาและทำความเข้าใจ“เฮือนหิน” หรือ ปราสาท แขวงสะหวันนะเขตในด้านสภาพทั่วไปของเฮือนหิน รูปแบบศิลปะและอายุสมัยของเฮือนหิน จากการศึกษาพบว่าสภาพทั่วไปของเฮือนหินแขวงสะหวันนะเขตในปัจจุบัน มีปรางค์ประธานซึ่งเป็นอาคารที่สำคัญที่สุดน่าจะมีผังเป็นรูปกากบาทเช่นเดียวกับปราสาทขอมโดยทั่วไป มีห้องมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หันหลังให้กับแม่นำ้โขง หรืออาจมีทางเข้าซุ้มประตูโคปุระทางทิศตะวันตกตามคติการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ทั่วไป ซึ่งมักจะมีซุ้มประตูทางเข้าได้ทั้ง 4 ทิศ เนื่องจากหลักฐานที่พบในเฮือนหินมีจำนวนน้อยและมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผิดแผกไปจากเดิม นอกจากนั้นยังมีการสร้างต่อเติมอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น จึงทำให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็พอจะอนุมานได้จากหลักฐานสำคัญบางส่วน จึงสามารถกำหนดรูปแบบศิลปะอายุสมัยได้ดังนี้ เฮือนหินน่าจะเป็นเทวสถาน ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ลัทธิไศวนิกายเป็นศิลปะแบบบาปวนตอนปลาย ถึงนครวัดตอนต้น ราว พ.ศ.1650-1700 ร่วมสมัยเดียวกันกับปราสาทที่พบเป็นจำนวนมากในภาคอีสาน
This article aims to study and understand "Huan Hin" or castle of Savannakhet province in a general feature, style and the age of the Huan Hin. The study found that the general feature of Huan Hin in Savannakhet province in present, the main Prang, which is the most important building, should have the same building plan as a general Khmer castle. It has four porches extended on all four sides of the building and the building facing east and turn back to Mekong River. It might has a Gopura entrance arch on the west according to beliefs of building a large religious place, which usually has a entrance arch on all four directions. Due to the small amount of evidence objects found in Huan Hin, also the relocation of the evidence objects from its original location, and the extension of the Huan Hin building in order to use for others purposes caused the incomplete information. However the important pieces of evidence object could be used to deduce and imply from style of the Huan Hin that is the religious building of Brahman and Hinduism, Shivism Sect. The art style is the Late Baphuon – the Early Angkor Wat around 1650 – 1700 B.C., contemporary with the castle to find a lot in the Northeast.
Article Details
บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์